กรมวิทย์ย้ำ! ATK ตรวจหาโควิดได้หมด - เตือนอย่านำไปแยงคอ/ต่อมทอนซิล

9 ม.ค. 2565 เวลา 10:56 | อ่าน 535
 
ATK ตรวจหาโควิดได้หมด - เตือนอย่านำไปแยงคอ/ต่อมทอนซิล

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำสายพันธุ์ระบาดในไทยตอนนี้ยังเป็นเดลตา ส่วน ATK ใช้ตรวจหาเชื้อโควิดได้หมด ไม่มีจำเพาะโอมิครอน ย้ำวิธีมาตรฐานโฮมยูสใช้ปั่นจมูก 2 ข้าง ยังไม่จำเป็นต้องแยงจุดอื่น อย่าแยงคอหรือต่อมทอนซิล หวังเพิ่มโอกาสเจอเชื้อ แต่อันตราย ขอปชช.อย่าแพนิค ทุกสายพันธุ์ป้องกัน รักษาแบบเดียวกัน

เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการตรวจหาเชื้อโควิด -19 ด้วยชุดตรวจ ATK ว่า ชุดตรวจที่ผ่านการประเมินการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นั้นมีการกำหนดมาตรฐานความไวอยู่ที่ 90 % และความจำเพาะ 98% ดังนั้นถึงไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์บ้างแต่ยังสามารถตรวจเจอเชื้อได้ ทั้งอัลฟา เดลตา และโอมิครอน ทั้งนี้วิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานของ ATK ชนิดที่ประชาชนใช้เอง หรือ Home Use นั้น คือการแยงจมูกราว ๆ 2-3 เซนติเมตร ปั่นข้างละ 5-6 รอบ แล้วตรวจด้วยน้ำยาที่มากับชุดตรวจ นี่คือวิธีมาตรฐานที่ปฏิบัติ ยังไม่มีที่ไหนนำไปตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ใครที่จะทำพิสดารนอกเหนือจากนั้นคงแล้วแต่ แต่ถ้าวิธีมาตรฐานคือแยงจมูก


เมื่อถามว่ามีคนออกมาแนะนำว่าให้นำ ATK ชนิดแยงจมูกมาแยงต่อมทอนซิลก่อนแยงจมูกจะเพิ่มโอกาสในการเจอเชื้อมากกว่า นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า โดยหลักการช่องคอ กับโพรงจมูก เป็นช่องเดียวกันอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำเช่นนี้กับชุดตรวจโฮมยูส เพราะเสี่ยงเป็นอันตรายอย่างอื่นได้ การเอามาแยงคอ แยงต่อมท่อนซิลต้องคิดให้มาก

ATK ตรวจหาโควิดได้หมด - เตือนอย่านำไปแยงคอ/ต่อมทอนซิล

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า ถ้าพูดถึงสัดส่วนของเชื้อที่แพร่ระบาดในประเทศไทยยังบอกได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันเรามีการตรวจสายพันธุ์ในผู้เดินทางมาจากต่างประเทศราย ทำให้เจอสายพันธุ์โอมิครอนเยอะ แต่การติดเชื้อในประเทศไม่ได้มีการตรวจสายพันธุ์มากนัก หลักๆ ตอนนี้โอมิครอนเจออยู่ประมาณ 3 พันราย ดังนั้น สายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทยตอนนี้สายพันธุ์หลักยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตามากกว่าโอมิครอน แต่แนวโน้มโอมิครอนเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติไม่ต้องไปแยกว่าเป็นสายพันธุ์ไหน เพราะการป้องกัน การรักษายังเหมือนกันทุกสายพันธุ์ ไม่ใช่ว่าถ้าติดโอมิครอนแล้วไม่รุนแรง แล้วสบายใจ


ไม่อยากให้คนแพนิค แต่อยากให้เข้าใจมาตรการจัดการแบบใหม่ เข้าใจว่าคนที่ติดเชื้อก็อยากจะเข้ารพ. แต่หากเป็นเช่นนั้น คนที่ไม่มีอาการหรือไม่จำเป็นจะกลายไปแย่งตียงของคนที่มีอาการจำเป็นต้องรักษาในรพ.ได้ ดังนั้นวันนี้ คนที่ไม่มีอาการก็ให้รักษาที่บ้าน หรือชุมชน (HI/CI) แต่ต้องมีคนติดตามอาการต่อเนื่อง หากมีอาการเหนื่อยหอบ ไข้ขึ้นสูง ก็ต้องหาหมอ” นพ.ศุภกิจ กล่าว

9 ม.ค. 2565 เวลา 10:56 | อ่าน 535


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
630 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
734 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
765 30 มิ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน