สส. สว. ควรได้บำเน็จบำนาญหรือไม่?

18 เม.ย. 2556 เวลา 02:04 | อ่าน 3,624
แชร์ไปยัง
L
 
เรื่องด่วน ! มาก จะมีการออก พระราชกฤษฎีกาให้บำเหน็จบำนาญ ส.ส.-ส.ว.

เราทุกคนในฐานะผู้เสียภาษี ควรอ่านและรักษาสิทธิ เพราะภาษี ของคุณกำลังถูกละลาย
=========================
กำลังจะมีการออกกฏหมายนี้ เสียดายเงินภาษี เลือกตั้งได้เป็นสส.หรือสว.แค่สมัยเดียว ก็ได้บำนาญกินไปทั้งชาติแล้ว ใครไม่เห็นด้วย
เขามีเปิดตู้ปณ.ให้ร่วมลงชื่อคัดค้านกฏหมายฉบับนี้ที่
ตู้ปณ. 69 ปณจ.สามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพ 10400
โดย ส่ง copy
บัตรประชาชนแล้วขีดคล่อมด้วยข้อความว่า ร่วมลงชื่อคัดค้านกฏหมายบำเหน็จบำนาญ สส.สว.

เรื่อง คัดค้านการขอบำเหน็จ บำนาญ ให้ข้าราชการการเมือง ส.ส.- ส.ว.

ถึง ประชาชนคนไทยทุกท่าน

เรื่องที่จะมีการออก พระราชกฤษฎีกาให้บำเหน็จบำนาญ ส.ส.-ส.ว. ไม่ทราบว่า
ท่านผู้ทรงเกียรติเหล่านั้นใช้ "สติปัญญาส่วนไหนคิด"
และถึงแม้ว่า ในรัฐธรรมนูญจะเปิดโอกาสให้ ข้าราชการการเมืองมีโอกาสได้
แต่ในความเป็นจริงแล้วบรรดาท่านผู้ทรงเกียรติได้คำนึงถึงความเหมาะสมหรือไม่

1.ท่านผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามา เป็นตัวแทนของประชาชน
2.ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร
3.ท่านมีสิทธิพิเศษ และสวัสดิการมากมาย


ท่านยังจะมาเอาเปรียบประชาชน และข้าราชการประจำอีกหรือ
ท่านคิดได้อย่างไร ??? ผมคนนึงละไม่เชื่อหรอกว่า
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว ท่านจะอดตาย
ในเมื่อท่านมีเงินมาลงสมัคร และหาเสียงเลือกตั้ง
ท่านจะไม่มีเงินเลี้ยงชีพตัวเองเลยหรือ แต่ละท่านก็ทรงคุณวุฒิทั้งนั้นนี่ครับ
ท่านจะหาเลี้ยงชีพไม่เป็นเลยหรือ??? แล้วก่อนหน้า ที่ท่านจะมาเป็นสมาชิกรัฐสภา
ท่านทำอะไรมาก่อนครับ ? ท่านดูอัตราเงินเดือนของท่านให้ดีนะครับ

บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของ
1. " ส.ว.-ส.ส. "
ตำแหน่ง เงินประจำตำแหน่ง+เงินเพิ่ม ประธานรัฐสภา - 64,000+50,000
2. ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร - 63,000+45,500
3. รองประธานรัฐสภา - 63,000+45,000
4. รองประธานวุฒิสภา และรองประธานสภาผู้แทนราษฏร - 63,000+42,500
5. ผู้นำฝ่ายค้านในสภา - 63,000+45,500
6. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร - 63,000+42,500
7. สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - 63,000+41,000

เอาตรง ส.ส.. และ ส.ว. เนี่ย

ท่านมีเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มรวมแล้ว 104,000 บาทต่อเดือน ครับ

อ่านให้ก็ได้เผื่อท่านสมาชิกสภาบางท่านจะอ่านไม่ออก!

หนึ่งแสนสี่พันบาท ครับ ถ้าท่านเป็น ส.ส. 4 ปี ท่านมีรายได้รวม 4,992,000 บาท อ่านว่า สี่ล้านเก้าแสนเก้าหมื่นสองพันบาท

ถ้าท่านเป็น ส.ว. 6 ปี ท่านมีรายได้รวม 7,488,000 บาท อ่านว่า
เจ็ดล้านสี่แสนแปดหมื่นแปดพันบาท

คนทั่วไปเขาทำงานกันทั้งชีวิตนะครับกว่าจะได้เงินขนาดนี้ นอกจากเงินเดือนแล้ว

ในระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่ง ท่านยังมีสวัสดิการ มีสิทธิพิเศษมากมาย
ท่านได้เดินทางฟรี ขึ้นเครื่องบินฟรี ท่านมีเบี้ยเลี้ยงประชุม

ในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ท่านก็เบิกได้เต็มที่ 100% เรียกได้ว่า
ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของท่านนั้น ท่านสามารถเบิกได้หมด นอกจากนี้แล้ว
ยังมีเงินประจำตำแหน่งในคณะกรรมาธิการต่างๆของสภา

ที่ท่านสามารถจะได้รับอีก เรียกได้ว่าท่านแทบไม่จำเป็นต้องแตะเงินเดือนของท่านเลย และถ้าท่านกินอยู่อย่างพอเพียง และรู้จักประกอบอาชีพสุจริต

เงินจำนวนนี้ถือว่ามากพอที่จะเลี้ยงชีวิตท่านล่ะครับ

แล้วท่านยังจะมาเอาบำเหน็จบำนาญอะไรอีกครับ
บอกตรงๆ ประชาชนอย่างพวกเรา ไม่เห็นความจำเป็นเลยครับ
เงินประจำตำแหน่งที่ท่านได้รับ ก็มีมากพอที่จะเลี้ยงชีวิต
และเป็นเกียรติสมตำแหน่งฐานะของท่านอยู่แล้ว
หากท่านเป็นคนดี ไม่รับสินบน เบี้ยบ้ายรายทาง ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง
ท่านก็ได้รับการเคารพนับถือจากคนไทยอยู่แล้ว
ท่านยังจะเอาอะไรจากประชาชนอีกครับ
ผมไม่ใช่คนที่มีสิทธิมีเสียงในสภา ผมไม่ใช่คนที่สามารถออกกฎหมายได้
สิ่งที่ผมทำได้คือ เป็นเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่งเท่านี้
ที่จะกระจายไปให้ประชาชนคนไทยร่วมรับรู้ว่า
กำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับเงินภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากประชาชน
และในฐานะของประชาชน ผมขอที่จะ คัดค้าน พระราชกฤษฎีกา
ให้บำเหน็จบำนาญ ส.ส.-ส.ว. ฉบับนี้

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น และ ส่งต่อข้อความนี้ให้กับเพื่อนๆเรา ให้ กับคนที่สนใจ ได้รับรู้ร่วมกันว่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับเงินภาษีของเราแล้วแต่พวกคุณจะพิจารณาน่ะครับแต่ สำหรับผม บอกได้คำเดียวว่า
" ไม่ให้ครับ!! "

แล้วเพื่อนๆ ท่านอื่นคิดว่า ควรหรือไม่ควรให้ดีคะ และด้วยเหตุผลอะไร???

ข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/283193


18 เม.ย. 2556 เวลา 02:04 | อ่าน 3,624


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
77 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
134 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
151 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
323 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
333 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
646 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,361 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
737 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน