มันยังไม่จบ ความกังวลของนักวิทยาศาสตร์ต่อเชื้อกลายพันธุ์ BA.2.75

15 ก.ค. 2565 เวลา 12:05 | อ่าน 309
แชร์ไปยัง
L
 
ความกังวลของนักวิทยาศาสตร์ต่อเชื้อกลายพันธุ์ BA.2.75

นับเป็นวิบากกรรมระยะยาวของมนุษยชาติจริงๆ เมื่อความกังวลเรื่องโควิด-19 กลับมาหลอกหลอนพวกเราอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ของโลกกลับมา "ทำตัวปกติ" กันแล้ว และ "หัวเราะเยาะ" จีนที่ใช้มาตรการล็อคดาวน์ที่ถูกมองว่าไม่สอคล้องกับ "ความเป็นจริง"


แต่เมื่อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ Omicron กลายพันธุ์ BA.2.75 แสดงอิทธิฤทธิ์ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2565 ความเชื่อมั่นของผู้คนก็เริ่มสั่นคลอน อย่างน้อยก็ในหมู่นักวิทยศาสตร์


BA.2.75 ตรวจพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมและได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตามหัวข้อ Twitter จาก Vinod Scaria, MBBS, PhD, นักวิทยาศาสตร์หลักของ CSIR Institute of Genomics & Integrative Biology ในนิวเดลี ระบุว่าเชื้อสาย BA.2.75 มี "การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ซ้ำกัน 9 ประการในโปรตีนสไปก์"


การกลายพันธุ์อย่างหนึ่งคือ G446S เป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนสไปก์ซึ่งจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ของเรา และ "เกี่ยวข้องกับการหลบหนีของภูมิคุ้มกันที่สำคัญ (Ab)" และ Vinod Scaria เตือนว่าอาจเกิด "การติดเชื้อที่ลุกลามซ้ำแล้วซ้ำอีกของ (หลังการฉีด) วัคซีน สามารถขับเคลื่อนการแพร่กระจายของ BA.2.75 ได้" (1)


Vinod Scaria ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าแม้ว่าจำนวนจีโนมที่สามารถตรวจสอบได้ในอินเดียยังมีน้อยมาก แต่เกิด "การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ... บ่งชี้ว่าอาจมีข้อได้เปรียบในการขยายตัว" (1)


ณ วันที่ 2 กรกฎาคม Vinod Scaria กล่าวว่า "จำเป็นต้องตื่นตระหนกตอนนี้หรือไม่?


ไม่ เนื่องจากตัวแปรนี้ยังไม่บ่งชี้ว่าทำให้เกิดโรคร้ายแรงหรืออัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น

ข้อควรจำคือ ตัวแปรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสะสมการกลายพันธุ์มากขึ้น และยังเร็วเกินไปที่จะสรุป" และ "การเฝ้าระวังจีโนมที่ในวงกว้างขึ้นและละเอียดมากขึ้น (การศึกษาด้าน) ระบาดวิทยา และที่สำคัญกว่านั้นคือความพร้อมใช้งานของข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจภาพในลักษณะ (ของ BA.2.75) ที่ดีขึ้น (1)

คำถามก็คือ BA.2.75 อันตรายมากขึ้นหรือไม่?


Soumya Swaminathan, MBBS, MD หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของอวค์การอนามัยโลก WHO กล่าวในวิดีโอ ณ วันที่ 9 กรกฏาคมว่า "ยังเร็วเกินไปที่จะทราบว่าตัวแปรย่อยนี้มีคุณสมบัติของการบุกรุกภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หรือที่จริงแล้วมีความรุนแรงทางคลินิกมากกว่า" นั่นก็เพราะมีข้อมูลด้านจีโนมที่จำกัดในการวิเคราะห์ตัวแปรนี้ แต่ตัวแปรนี้ "ดูเหมือนจะมีการกลายพันธุ์ในตัวรับในส่วนของโปรตีนสไปก์ นั่นเป็นตัวหลักของไวรัสในการนำตัวมันไปเหนี่ยวกับกับตัวรับของมนุษย์ ดังนั้นเราจึงต้องจับตาจุดนี้" (2)


ด้าน Marc Johnson, PhD, ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาระดับโมเลกุลและภูมิคุ้มกันวิทยาที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัย Missouri กล่าวในอีเมลถึงเว็บไซต์ MedPage Today ว่า "เราไม่รู้จริงๆ ว่า BA.2.75 แพร่เชื้อได้มากกว่านี้หรือรุนแรงกว่านี้หรือไม่ ณ จุดนี้" และเขาบอกว่า “เราควรกังวล ใช่ แต่เราไม่ควรวิตกกังวล” และบอกว่า "เชื้อสายพันธุ์นี้มีโอกาสมากที่จะเพิ่มการติดเชื้อและกลายเป็นเชื้อสายใหม่ที่โดดเด่น แต่ก็ไม่น่าจะทำให้เกิดคลื่นที่กว้างใหญ่อย่างที่ Omicron เคยทำ" (3)


อีกคนที่เห็นแบบเดียวกันคือ Matthew Binnicker ผู้อำนวยการฝ่ายไวรัสวิทยาคลินิกที่ Mayo Clinic ในเมืองโรเชสเตอร์ รัฐมินนิโซตา กล่าวกับ Time ว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปผล “แต่ดูเหมือนว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย อัตราการติดเชื้อกำลังแสดงการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณนั้น” และะเขากล่าวว่า BA.2.75 จะแซงหน้า BA.5 ได้หรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด (4)


แต่นักวิทยาศาสตร์และสื่อตะวันตกก็ยังอดกลัวมันไม่ได้ เช่น Forbes สื่อทรงอิทธิพลของโลก พาดหัวข่าวรายงานว่า "BA.2.75 ม้ามืดท่ามกลางการระบาดใหญ่ของโควิด" เขียนโดย William A. Haseltine นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักเขียนชาวอเมริกัน เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานที่ก้าวล้ำในด้านเอชไอวี/เอดส์และจีโนมมนุษย์ และเป็นศาสตราจารย์ที่ Harvard Medical School ซึ่งเขาก่อตั้งแผนกวิจัยสองแผนกเกี่ยวกับโรคมะเร็งและเอชไอวี/เอดส์


William A. Haseltine อธิบายในเชิงวิทยศาสตร์ของเชื้อตัวแปรนี้อย่งยืดยาว แต่โดยสรุปก็คือเขาบอกว่า "สรุปว่า (โลก) เพิ่งฟื้นจากคลื่น Omicron แรกของ BA.1 และ BA.2 เมื่อต้นปี รวมถึงคลื่น BA.2.12.1 ในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ ตอนนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอีกสองคลื่นตัวแปรซึ่งอาจเกินกว่าคลื่นลูกแรกในขนาดเดียวหรือรวมกัน" และเขาบอกว่า "ทุกประเทศยกเว้นจีนได้ละทิ้งมาตรการบรรเทาผลกระทบสาธารณะ ซึ่งหมายความว่าตอนนี้ความปลอดภัยของโควิดตกอยู่ที่ปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเสียใจในการเผชิญกับการโจมตีอย่างต่อเนื่องของ SARS-CoV-2"


นี่คือความกังวลในฐานะนักวิทยศาสตร์ และสะท้อนว่าคนทั่วไปไม่ได้กังวลอย่างนั้น อย่างที่ William A. Haseltine บอกว่าความปลอดภัยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแล้ว

ข้อมูลจาก https://www.hfocus.org/

15 ก.ค. 2565 เวลา 12:05 | อ่าน 309


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
270 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
297 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
620 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,313 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
72 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
91 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
696 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
881 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
423 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
554 8 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน