รวมคำที่มักเขียนผิด รู้แล้วต้องใช้ให้ถูก

7 ส.ค. 2565 เวลา 10:12 | อ่าน 2,190
แชร์ไปยัง
L
 
รวมคำที่มักเขียนผิด รู้แล้วต้องใช้ให้ถูก


พยัญชนะ คำควบกล้ำ


พยัญชนะ คำควบกล้ำที่มักเขียนผิด

มาที่หมวดแรกกันเลย คำที่มักเขียนผิดในหมวดพยัญชนะต้นและคำควบกล้ำมีหลายคำที่เราคุ้นเคยกันและยังใช้แบบผิด ๆ กันอยู่ คำที่เขียนผิดบางคำมาจากภาษาต่างประเทศ อาจทำให้เพื่อน ๆ สับสนว่าจะใช้ตัวพยัญชนะอะไรแทนดี เพราะงั้นไปดูกันเลย


• กระเทย คำที่ถูกต้องคือ กะเทย
• อินเตอร์เน็ต คำที่ถูกต้องคือ อินเทอร์เน็ต
• กระเพรา คำที่ถูกต้องคือ กะเพรา
• กระทันหัน คำที่ถูกต้องคือ กะทันหัน
• แกงกระหรี่ คำที่ถูกต้องคือ แกงกะหรี่
• ปะแป้ง คำที่ถูกต้องคือ ประแป้ง
• ปลากระพง คำที่ถูกต้องคือ ปลากะพง
• ไอศครีม คำที่ถูกต้องคือ ไอศกรีม
• ริดรอน คำที่ถูกต้องคือ ลิดรอน
• บุคคลากร คำที่ถูกต้องคือ บุคลากร


ตัวสะกด


ตัวสะกดที่มักเขียนผิด

ต่อมาเป็นหมวดตัวสะกดค่ะ คำที่มักเขียนผิดหรือสะกดผิดในหมวดนี้มักจะติดพวกสระ หรือตัวการันต์ที่เราอาจไม่ได้ใช้กันบ่อย ๆ หรือเห็นเขียนผิดจนคุ้นตาแล้วใช้จนเคยชิน บางคำไม่ต้องเติมสระอิ สระอุ ก็สามารถตัดออกได้เลยนะคะ ส่วนคำทับศัพท์ก็ไปเช็กกันดูได้เลยว่ามีคำไหนที่เราเคยใช้แล้วไม่ถูกกันบ้าง


• อนุญาติ คำที่ถูกต้องคือ อนุญาต
• ซีรี่ย์ คำที่ถูกต้องคือ ซีรีส์
• มุขตลก คำที่ถูกต้องคือ มุกตลก
• สังเกตุ คำที่ถูกต้องคือ สังเกต
• เฟสบุค คำที่ถูกต้องคือ เฟซบุ๊ก
• อีเมล์ คำที่ถูกต้องคือ อีเมล
• คอมเม้นท์ คำที่ถูกต้องคือ คอมเมนต์
• ปรากฎ คำที่ถูกต้องคือ ปรากฏ
• กฏหมาย คำที่ถูกต้องคือ กฎหมาย
• ออฟฟิซ คำที่ถูกต้องคือ ออฟฟิศ

สระ วรรณยุกต์


สระ วรรณยุกต์ที่มักเขียนผิด

บอกเลยว่าหมวดนี้เราเห็นกันจนชินแน่นอน โดยเฉพาะการใช้ คะ ค่ะ ที่ไม่ถูกบริบท หรือผันวรรณยุกต์กันไม่ถูก เพราะภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง 5 เสียง หลายคนอาจไม่ชำนาญและรู้สึกว่ามันยาก นอกจากนี้พวกสระบางตัวยังเสียงเดียวกันแต่คนละรูป เพิ่มความยากเข้าไปอีก ไปดูกันค่ะว่าใช้ยังไงถึงจะถูกต้อง


• นะค่ะ คำที่ถูกต้องคือ นะคะ หรือ น่ะค่ะ
• หลงไหล คำที่ถูกต้องคือ หลงใหล
• ทะยอย คำที่ถูกต้องคือ ทยอย
• ศรีษะ คำที่ถูกต้องคือ ศีรษะ
• คุ้กกี้ คำที่ถูกต้องคือ คุกกี้
• ใต้ฝุ่น คำที่ถูกต้องคือ ไต้ฝุ่น
• สเน่ห์ คำที่ถูกต้องคือ เสน่ห์
• ฉนั้น คำที่ถูกต้องคือ ฉะนั้น
• โควต้า คำที่ถูกต้องคือ โควตา
ก๋วยจั๊บ คำที่ถูกต้องคือ กวยจั๊บ


สำนวน คำประสม


สำนวน คำประสมที่มักเขียนผิด

หมวดสุดท้ายของคำที่มักเขียนผิด เป็นพวกสำนวนภาษาไทยที่เรามักติดปากกันไปแบบผิด ๆ เช่น กงกรรมกงเกวียน (ที่จริง ๆ แล้วต้องใช้ว่า กงเกวียนกำเกวียน) และยังมีอีกหลายสำนวนที่เราอาจไม่คุ้นเลยด้วยซ้ำว่าการใช้ที่ถูกต้องคืออะไร ไปดูพร้อม ๆ กันค่ะ


• กงกรรมกงเกวียน คำที่ถูกต้องคือ กงเกวียนกำเกวียน
• เลือดกลบปาก คำที่ถูกต้องคือ เลือดกบปาก
• ผีซ้ำด้ามพลอย คำที่ถูกต้องคือ ผีซ้ำด้ำพลอย
• พิธีรีตรอง คำที่ถูกต้องคือ พิธีรีตอง
• ต่าง ๆ นา ๆ คำที่ถูกต้องคือ ต่าง ๆ นานา
• นานาพันธุ์ คำที่ถูกต้องคือ นานาพรรณ
• ผลัดวันประกันพรุ่ง คำที่ถูกต้องคือ ผัดวันประกันพรุ่ง
• แก้ผ้าเอาหน้ารอด คำที่ถูกต้องคือ ขายผ้าเอาหน้ารอด
• แปรพรรค คำที่ถูกต้องคือ แปรพักตร์
• ลูกเด็กเล็กแดง คำที่ถูกต้องคือ ลูกเล็กเด็กแดง


ได้เห็นกันไปแล้วว่ามีคำที่มักเขียนผิดอยู่ในชีวิตประจำวันเราเยอะแค่ไหน เพื่อน ๆ ก็อย่าลืมเลือกใช้คำกันให้ถูกตามหลักภาษา (เชื่อว่าบางคำคงทำให้รู้สึกแปลก ๆ และไม่คุ้นเคย) แต่มาใช้คำไทยให้ถูกต้องกันก็จะดีกว่านะคะ


ข้อมูลจาก wongnai.com 24 มี.ค. 2021 · โดย MissSkyy

7 ส.ค. 2565 เวลา 10:12 | อ่าน 2,190


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
136 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
213 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
252 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
361 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
370 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
697 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,378 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
74 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
759 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน