คณะอนุฯ MIU ถ่ายโอนฯ ศึกษาการกระจายอำนาจของต่างประเทศ พร้อมจัดทำข้อเสนอที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

12 พ.ย. 2565 เวลา 20:57 | อ่าน 211
แชร์ไปยัง
L
 
คณะอนุฯ MIU ถ่ายโอนฯ ศึกษาการกระจายอำนาจของต่างประเทศ พร้อมจัดทำข้อเสนอที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย


คณะอนุกรรมการ MIU ด้านการถ่ายโอนภารกิจฯ ศึกษาแนวทางกระจายอำนาจของต่างประเทศพบการดำเนินการเพียงบางด้านมีความพึงพอใจมากที่สุด พร้อมจัดทำ 4 ข้อเสนอสำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขต้องกำกับคุณภาพมาตรฐาน กระจายอำนาจบางด้านตามความพร้อมพื้นที่และเวลาที่เหมาะสม ใช้รูปแบบไว้เนื้อเชื่อใจ มีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับสมดุลกระจาย-รวมศูนย์อำนาจ ตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง


นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ 11) และประธานคณะอนุกรรมการ MIU วิชาการและติดตามประเมินผลถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพ.สต. ให้แก่ อบจ. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการ MIU ถ่ายโอนภารกิจฯ โดยทีมวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ศึกษาบทเรียนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับเป็นข้อเสนอในการถ่ายโอนภารกิจฯ แต่ละระยะของประเทศไทย นำเสนอต่อ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการบริหารการถ่ายโอนฯ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมี 4 ประเด็นสำคัญ คือ


1.เป้าหมายของการกระจายอำนาจ ส่วนใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน เพิ่มขีดความสามารถและความรับผิดชอบของหน่วยงานระดับท้องถิ่น เพิ่มนวัตกรรมบริการ เพิ่มคุณภาพบริการ และเพิ่มความเสมอภาค

2.วิธีกระจายอำนาจมี 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านบริการ และด้านการบริหารจัดการ รวมถึงบุคลากร โดยประเทศส่วนใหญ่เลือกกระจายอำนาจเพียงบางด้าน โดยเฉพาะด้านการบริการ ซึ่งพบว่าได้ผลพึงพอใจมากที่สุด

3.กลไกการกระจายอำนาจมี 3 รูปแบบ คือ ต่างคนต่างทำ (voting with feet) ส่วนกลางไม่ควบคุม ซึ่งการพัฒนาจะขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละพื้นที่, ทำตัวติดดิน (close to ground) ส่วนกลางมอบอำนาจให้ท้องถิ่นตัดสินใจ ซึ่งจะตอบสนองปัญหาในพื้นที่ได้แต่อาจขาดเป้าหมายและความเชื่อมโยงในภาพรวม และแบบไว้เนื้อเชื่อใจ (watching the watchers) ทุกหน่วยทำงานเชื่อมโยงกัน มีระบบกำกับตามลำดับขั้นของหน่วยงาน ท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารโดยยังมีหน่วยงานที่สูงกว่าคอยดูแล ทำให้เกิดความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความยืดหยุ่น 4.การกระจายอำนาจและการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง พบควบคู่กันในประเทศที่กระจายอำนาจ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนเพื่อหาจุดสมดุลตามปัจจัยและบริบทที่เปลี่ยนไป

นพ.รุ่งเรืองกล่าวต่อว่า ได้จัดทำข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย คือ 1.ควรกำหนดเป้าหมายพัฒนาระบบการทำงานของหน่วยราชการให้ยุ่งยากซับซ้อนน้อยลง มีทรัพยากรในการทำงานมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของ อปท. ในการจัดการด้านสาธารณสุข โดยมีกระทรวงสาธารณสุขกำกับดูแลเรื่องคุณภาพมาตรฐาน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและระบบตรวจสอบการทำงานของ รพ.สต.และอปท. สร้างความเสมอภาคระหว่างพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรในพื้นที่ 2.ควรเริ่มกระจายอำนาจบางด้านตามความพร้อมของพื้นที่และความเหมาะสมของช่วงเวลา ไม่ควรกำหนดรูปแบบเหมือนกันทุกพื้นที่ แต่ค้นหาขนาดของประชากรและลักษณะของหน่วยงานในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้การกระจายอำนาจมีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด 3.พัฒนาการกระจายอำนาจไปสู่รูปแบบไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด โดยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายและแผนระดับชาติ กำกับมาตรฐาน ติดตามประเมินผล ส่วนระดับพื้นที่เน้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในการทำงานร่วมกัน พัฒนาระบบสารสนเทศทางสาธารณสุขที่เชื่อมโยงกันได้ และ 4.ต้องมีการกำกับควบคุมจากหน่วยงานส่วนกลาง เช่น มาตรฐาน การติดตามประเมินผล และปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อหาจุดสมดุลระหว่างการกระจายอำนาจและรวมศูนย์ตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


****************************** 12 พฤศจิกายน 2565

12 พ.ย. 2565 เวลา 20:57 | อ่าน 211


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
17 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
145 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
134 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
289 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
274 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
237 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
132 28 พ.ย. 2566
มติคณะรัฐมนตรี ขึ้นเงินเดือน ป.ตรี เรื่อง รายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 (เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
486 28 พ.ย. 2566
สธ.รับลูกรัฐบาลแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เปิดคลินิกสุขภาพการเงิน 8 ธ.ค. ช่วยบุคลากร สธ. กว่า 5 แสนคน
30 28 พ.ย. 2566
แก้ปัญหาหนี้ รัฐบาล เตรียมแถลงแก้หนี้ 28 พ.ย.นี้ รองโฆษกฯรัฐบาล “รัดเกล้า” ยืนยันรัฐบาลเอาจริงในการแก้ไขปัญหา ยกเป็นวาระแห่งชาติ
511 27 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน