ข้อมูลและประวัติของประเทศอินโดนีเซีย

2 มิ.ย. 2556 เวลา 12:39 | อ่าน 15,237
แชร์ไปยัง
L
 
ประเทศอินโดนีเซีย

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)

ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาอิสลาม

ดอกไม้ประจำชาติ : กล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)

วันชาติ : 17 สิงหาคม

วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง)

ภาษาประจำชาติ : ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

ภาษาราชการ : ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)





ลักษณะทางภูมิศาสตร์
อินโดนีเซียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,070,606 ตารางกิโลเมตรแบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร



“ภูมิประเทศ”
ทิศเหนือ ติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับมหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันออก ติดกับติมอร์ – เลสเต และปาปัวนิวกินี

ทิศใต้ ติดกับทะเลติมอร์

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุดในโลกประมาณ 17,508 เกาะ แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนคือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะมาลุกุ และอีเรียนจายา



“ภูมิอากาศ”
อินโดนีเซียอยู่ในเขตร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน – เมษายน)



ประชากร
มีประชากรประมาณ 245 ล้านคน ประชากรมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ที่มีมากที่สุดคือ จาวา รองลงมาคือ ซุนดา มาดู มาเลย์ และยังมีชนชาติพื้นเมืองอื่นๆ ที่กระจายกันอยู่ตามเกาะต่างๆ



การเมืองการปกครอง
อินโดนีเซียปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมีวาระการบริหารงาน 5 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย สำหรับรัฐสภา จะประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนระดับภูมิภาค ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะมีสภาประชาชนระดับท้องถิ่น

ประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 33 จังหวัด โดยเป็นเขตปกครองสถานะพิเศษ 5 จังหวัด คือ จาการ์ตา อาเจะห์ ยอกยาการ์ตา ปาปัว และปาปัวตะวันตก ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักอยู่ด้วย



เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
ในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในตลาดโลก อินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ โกโก้ และเครื่องเทศ

ประวัติ
*ในอดีตอินโดนีเซียเป็นแหล่งเครื่องเทศที่สำคัญ จึงเป็นที่สนใจของชาวตะวันตก และตกเป็นอาณานิคมของประเทศเนเธอร์แลนด์นานกว่า 300 ปี

*พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ยึดครองอินโดนีเซียและขับไล่เนเธอร์แลนด์ออกไปได้สำเร็จ

*17 สิงหาคม พ.ศ.2488 อินโดนีเซียถือโอกาสประกาศเอกราชเพราะญี่ปุ่นแพ้สงคราม โดยมี ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดีคนแรก แต่เนเธอร์แลนด์ไม่ยอมรับและพยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบกันอย่างรุนแรง

*พ.ศ.2489 ทั้งสองฝ่ายลงนามเพื่อยุติความขัดแย้งใน ข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) แต่ภายหลังเนเธอร์แลนด์ละเมิดข้อตกลงโดยนำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียอีก

*ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2492 อินโดนีเซียจึงได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากสหประชาชาติกดดัน แต่เนเธอร์แลนด์ก็ไม่คืนดินแดนอิเรียนจายาตะวันตกให้ จนในที่สุดประชาชนในดินแดนนั้นได้ลงประชามติขอเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียต่อสหประชาชาติจึงสามารถรวมกันได้สมบูรณ์ใน พ.ศ.2506

ข้อมูลจาก http://www.9ddn.com/content.php?pid=766
เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย
เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย

จาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา มีเนื้อที่ 740 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนด้วย

สำหรับกรุงจาการ์ตา ก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 397 (พ.ศ. 940) และเป็นเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของกรุงจาการ์ตา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ประจำชาติอินโดนีเซีย (โมนาส) ซึ่งถือว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างโดยมีส่วนประกอบของทองคำ ในยุคของประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้ประกาศเอกราชให้อินโดนีเซียปลดแอกจากเนเธอร์แลนด์ได้


สกุลเงินประเทศอินโดนีเซีย
สกุลเงินประเทศอินโดนีเซีย

ใช้สกุลเงิน รูเปียห์
อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 3.95 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
ข้อมูล เมืองหลวง และสกุลเงิน จาก kapook.com

2 มิ.ย. 2556 เวลา 12:39 | อ่าน 15,237


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เงินเดือนตำรวจและเงินประจำตำแหน่งตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน
98 28 ก.ย. 2566
มาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ดังกล่าวภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้
17 27 ก.ย. 2566
ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
195 27 ก.ย. 2566
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566 เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
23 27 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 กันยายน 2566
290 24 ก.ย. 2566
501 20 ก.ย. 2566
ข่าวดี !! 15 อัตรา รับสมัครชายไทย วุฒิ ปวช./ปวส. ทำงานช่างที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
196 20 ก.ย. 2566
ตำแหน่งครูว่าง 2566 การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
100 19 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2566
493 17 ก.ย. 2566
ออมสิน ยื่นมือช่วยลูกหนี้ NPL สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ถูกกระทบช่วงวิกฤติโรคร้าย ตั้งต้นผ่อนเดือนละร้อย ดึงบัญชีกลับมาเป็นปกติ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค.2566
281 16 ก.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน