โฆษกรัฐบาลเผย ศธ. ขานรับนโยบายนายกรัฐมนตรี ปรับโครงสร้างหลักสูตรโรงเรียน ปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

26 พ.ย. 2565 เวลา 18:25 | อ่าน 204
แชร์ไปยัง
L
 
โฆษกรัฐบาลเผย ศธ. ขานรับนโยบายนายกรัฐมนตรี ปรับโครงสร้างหลักสูตรโรงเรียน ปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่าตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจ ซึ่งที่ผ่านมา ศธ. ได้มีนโยบาย 8+1 โดยการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ แยกออกมา 1 รายวิชาอย่างชัดเจน เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนภาคภูมิใจรักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสาน ต่อยอดและนำมาปรับประยุกต์ในปัจจุบัน ไปแล้วนั้น เพื่อให้มีการแยกรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ออกมาเป็น 1 รายวิชาอย่างเป็นทางการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28 พ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” และพิจารณาแนวทางขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นแนวทางให้ต้นสังกัดของสถานศึกษา และสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในร่างประกาศ ศธ.ฉบับดังกล่าว กําหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 1 รายวิชา โดยจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) ซึ่งสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้พิพิธภัณฑ์เป็นสื่อ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและต่อยอดประวัติศาสตร์สู่งานอาชีพ การบูรณาการประวัติศาสตร์กับรายวิชาอื่น และการศึกษานอกสถานที่และแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากบอร์ด กพฐ.พิจารณาให้ความเห็นชอบ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในประกาศ ศธ.ฉบับดังกล่าวแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้อย่างชัดเจน คือจะมีการแยกรายการประเมินผลการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ใหม่ โดยในแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.3) จะมีการแสดงผลการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์แยกออกมา จากเดิมที่รวมอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

นายอนุชาฯ กล่าวต่อไปว่า การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ในปีงบประมาณ 2566 นี้ นอกจากจะเน้นเรื่องการเรียนการสอนแนวใหม่ สร้างการรับรู้ เน้นย้ำความสำคัญ โดยจะออกเป็นประกาศ ศธ.ในเรื่องดังกล่าวแล้ว ยังมีการวางระบบสนับสนุนอย่างเหมาะสมให้ครอบคลุมทุกมิติ เช่น การจัดกลุ่มตัวชี้วัดสาระประวัติศาสตร์และสาระหน้าที่พลเมือง เพื่อลดความซ้ำซ้อนของตัวชี้วัด การส่งเสริมประสิทธิภาพจัดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นห้องเรียน อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ ไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน และเกิดเป็นจริยธรรมของนักเรียน มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยบูรณาการการทํางานข้ามกระทรวง เช่น สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา วัฒนธรรมจังหวัด การท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์จังหวัด เป็นต้น มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง การใช้สื่อดิจิทัลและวิธีการเรียนรู้สมัยใหม่และมีการติดตาม ให้คำปรึกษา และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องด้วย

นายอนุชาฯ กล่าวอีกว่า ศธ. ได้ขานรับนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ ศธ. พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจ เพื่อให้เด็กและนักเรียนได้เรียนรู้ถึงสถาบันหลักของชาติ การต่อสู้ของบรรพบุรุษ ความสามัคคีของคนไทยในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น โดยก่อนหน้านี้ รมว.ศธ.ได้เน้นย้ำกับผู้บริหารการศึกษา ทั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศสังกัด สพฐ. รวมถึง กศน. และโรงเรียนเอกชน ต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนให้สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตได้ โดยขอให้เพิ่มการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติไทย โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อมและเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

“นายกรัฐมนตรีเน้นให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างวิถีชีวิตความเป็นพลเมือง ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่มีความเป็นผู้นำที่ดีและสามารถเป็นแบบอย่างในการทำความดีเพื่อสังคม นอกจากสอนให้เด็กเก่งแล้วยังต้องปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรักและหวงเเหนเเผ่นดินเกิด และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต” นายอนุชาฯ กล่าว

26 พ.ย. 2565 เวลา 18:25 | อ่าน 204


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
9 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
80 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
62 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
236 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
233 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
205 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
118 28 พ.ย. 2566
มติคณะรัฐมนตรี ขึ้นเงินเดือน ป.ตรี เรื่อง รายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 (เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
433 28 พ.ย. 2566
สธ.รับลูกรัฐบาลแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เปิดคลินิกสุขภาพการเงิน 8 ธ.ค. ช่วยบุคลากร สธ. กว่า 5 แสนคน
24 28 พ.ย. 2566
แก้ปัญหาหนี้ รัฐบาล เตรียมแถลงแก้หนี้ 28 พ.ย.นี้ รองโฆษกฯรัฐบาล “รัดเกล้า” ยืนยันรัฐบาลเอาจริงในการแก้ไขปัญหา ยกเป็นวาระแห่งชาติ
450 27 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน