ข้อมูลและประวัติของประเทศเมียนมาร์(พม่า)

2 มิ.ย. 2556 เวลา 16:19 | อ่าน 16,375
แชร์ไปยัง
L
 
ประเทศเมียนมาร์



ชื่อทางการ : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of the Myanmar)

เมืองหลวง : เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (เมืองหลวงเดิม คือ ย่างกุ้ง)

ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาพุทธ

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกประดู่ (Padauk)

วันชาติ : 4 มกราคม

วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540

ภาษาประจำชาติ : ภาษาเมียนมาร์

ภาษาราชการ : ภาษาเมียนมาร์



ลักษณะทางภูมิศาสตร์
พม่ามีพื้นที่ประมาณ 657,740 ตารางกิโลเมตร



“ภูมิประเทศ”
ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีนและทิเบต

ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาวและไทย

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับอินเดียและบังกลาเทศ

ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล



“ภูมิอากาศ”
แบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่งสภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ โดยพื้นที่สูงจะหนาวเย็น พื้นที่ภาคกลางจะแห้งแล้งกว่าแถบชายฝั่งทะเลตอนใต้



ประชากร
มีจำนวนประชากรประมาณ 55 ล้านคน มีหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเมียนมาร์ รองลงมา คือ ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ไทยและชิน



การเมืองการปกครอง
มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐและแบ่งเป็น 7 ภาค ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่



เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
เมียนมาร์เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของเมียนมาร์ ซึ่งมีการปลูกข้าวเจ้า ผัก และพืชเมืองร้อนหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการขุดแร่และน้ำมัน รวมทั้งมีเหมืองดีบุกอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา โดยมีอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรอยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ อัญมณี แร่ธาตุ และน้ำมัน



ประวัติ
*ชนเผ่ามอญเข้ามาตั้งรกรากในพม่า หลังจากนั้นดินแดนนี้ก็ถูกชนชาติต่างๆ เข้ามาผลัดเปลี่ยนยึดครองจนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษใน พ.ศ.2429

*ต่อมามีการก่อตั้งกลุ่มสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ โดยคณะของอองซาน เพื่อเจรจาเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ

*พม่าได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2491

*พ.ศ.2505 นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ปกครองพม่าแบบเผด็จการและปิดประเทศ

*พ.ศ.2531 เกิดเหตุการณ์ 8888 (8 สิงหาคม ค.ศ.1988) ที่ทหารฆ่าประชาชนจำนวนมาก

*พ.ศ.2532 พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “Burma” เป็น “Myanmar” และสภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์กจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี

*สภาสลอร์กไม่ยอมรับชัยชนะของนางอองซานซูจี และสั่งกักบริเวณนาง

*สภาสลอร์กเปลี่ยนชื่อเป็นสภาแห่งสันติภาพและพัฒนาประเทศและถูกประกาศให้สันติภาพไปในเดือนมีนาคม พ.ศ.2554

*รัฐบาลชุดแรกนำโดยพลเอก เต็ง เส่ง ปกครองประเทศและเปลี่ยนชื่อจาก “สหภาพพม่า” เป็น “สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์”

*ปัจจุบันนางออกซานซูจีได้รับการปล่อยตัวแล้ว และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555

ข้อมูลจาก http://www.9ddn.com/content.php?pid=769
เมืองหลวงประเทศเมียนมาร์ (พม่า)
เมืองหลวงประเทศเมียนมาร์ (พม่า)

กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่า ซึ่งย้ายมาจากกรุงย่างกุ้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเนื้อที่ประมาณ 7,024 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 9 แสนคน และเพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้ในปีนี้ (พ.ศ. 2555) เอง

สำหรับการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเนปิดอว์ ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่เท่าที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ อาจจะเป็นเพราะต้องการตั้งเมืองหลวงในใจกลางประเทศ เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหาร ต่างจากย่างกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเลมากเกินไป หรือไม่ก็ต้องการฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิม เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ก็ต้องย้ายเมืองหลวง

เนปิดอว์ แม้ว่าจะเป็นเมืองที่สร้างใหม่ แต่ก็มีสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิ อนุเสาวรีย์ 3 กษัตริย์พม่าได้แก่ พระเจ้าอโนรธา แห่งเมืองพุกาม พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งชเวโบ กลางเมืองเนปิดอว์ นอกจากนี้ ยังจำลองเจดีย์ชเวดากองในเมืองอีกด้วย ชื่อว่า มหาเจดีย์อุปปตศานติ

สกุลเงินประเทศเมียนมาร์ (พม่า)
สกุลเงินประเทศเมียนมาร์ (พม่า)

สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า

ใช้สกุลเงิน จ๊าด
อัตราแลกเปลี่ยน 1 จ๊าด = 5 บาทไทย
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 10 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด, 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
ข้อมูล เมืองหลวง และสกุลเงิน จาก kapook.com

2 มิ.ย. 2556 เวลา 16:19 | อ่าน 16,375


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
มาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ดังกล่าวภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้
8 27 ก.ย. 2566
ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
90 27 ก.ย. 2566
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566 เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
11 27 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 กันยายน 2566
203 24 ก.ย. 2566
424 20 ก.ย. 2566
ข่าวดี !! 15 อัตรา รับสมัครชายไทย วุฒิ ปวช./ปวส. ทำงานช่างที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
175 20 ก.ย. 2566
ตำแหน่งครูว่าง 2566 การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
93 19 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2566
432 17 ก.ย. 2566
ออมสิน ยื่นมือช่วยลูกหนี้ NPL สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ถูกกระทบช่วงวิกฤติโรคร้าย ตั้งต้นผ่อนเดือนละร้อย ดึงบัญชีกลับมาเป็นปกติ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค.2566
257 16 ก.ย. 2566
นายกฯ เผย ครม.เคาะลดค่าไฟฟ้า เหลือ 4.10 บาท น้ำมันดีเซลต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตร มีผล ก.ย.นี้ ปรับจ่ายเงินเดือนข้าราชการเดือนละ 2 รอบ วีซ่าฟรีให้จีน-คาซัคสถาน
470 14 ก.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน