MThai News: สำนักข่าวต่างประเทศเผยคลิปหมีโคอาลาตัวหนึ่ง ว่ายน้ำจากริมฝั่งเข้าหากลุ่มนักพายเรือแคนู ก่อนจะปีนขึ้นเรือ เพื่อขออาศัยหาทางกลับบ้าน เหตการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย
โดยธรรมชาตของโคอาลาเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างขี้เกียจ มันใช้เวลานอนกว่า18 ชม. และใช้เวลาที่เหลือในการแทะเล็มใบยูคาลิปตัส จึงเป็นเรื่องค่อนข้างประหลาดเมื่อโคอาล่าตัวนี้พยายามว่ายน้ำเพื่อมาหากลุ่มนักแคนู ก่อนจะพยายามปีนขึ้นเรือ โดยมีชายหนุ่มสมาชิกในกลุ่มอุ้มพยุงมันขึ้นมาในเรือ
หลังจากที่มันขึ้นเรือมาได้ มันดูผ่อนคลายและมองไปรอบๆเรือ และปีนขึ้นไปนั่งบนที่นั่งข้างหน้า ก่อนที่เหล่านักแคนูจะพามันไปส่งที่สนามกอล์ฟที่มีกลุ่มโคอาลาจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่
ข้อมูลจาก
http://news.mthai.com
ต่อด้วยความน่ารักของ โคอาล่า อีก คิคิ
"ตาแป๋วแหวว น่ารักนักหนา"
"นั่งเล่นเฉยๆค่ะ"
โคอาลา (Koala) เป็นสัตว์ในกลุ่มสัตว์จำพวกจิงโจ้ (มิใช่หมี) ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ จากการที่มันมีลักษณะรูปร่าง หน้าตาคล้ายสัตว์ในตระกูลหมี ทำให้คนส่วนมากเรียกมันว่า หมีโคอาลา (Koala bear)
ประวัติ
ใน พ.ศ. 2341 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า พบโดยชาวยุโรปชื่อ จอห์น ไพรซ์ (John Price) ต่อมาพ.ศ. 2346 ข้อมูลรายละเอียดของโคอาลาเริ่มถูกตีพิมพ์ในซิดนีย์กาเซ็ตต์ (Sydney Gazette)
ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear)
ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า
ขนาดและน้ำหนัก
โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น โดยตัวผู้สูงประมาณ 30.8 นิ้ว หรือ 78 ซ.ม. ในขณะที่ตัวเมียสูงประมาณ 28 นิ้ว หรือ 72 ซ.ม. โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 26 ปอนด์ หรือ 11.8 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 17.4 ปอนด์ หรือ 7.9 กิโลกรัม
โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 14.3 ปอนด์ หรือ 6.5 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 11.2 ปอนด์ หรือ 5.1 กิโลกรัม
โคอาลาแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม เท่านั้น ลักษณะขน โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง
โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ ในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น
ลักษณะขน
โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ ในตระกูลจิงโจ้
ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น
ถิ่นที่อยู่อาศัย
โคอาลาอาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นยูคาลิปตัส ปัจจุบันเราพบโคอาลาที่ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย และ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
ศัตรู
ศัตรูที่สำคัญคือ มนุษย์ ซึ่งล่าเอาขนของมัน
อาหาร
โคอาลากินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหาร ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัวมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์ แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาลามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้
โคอาลามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 ซ.ม. ที่บริเวณอวัยวะนี้ จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้
โคอาลามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้ เพียงแค่ 25 % ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาลาไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ
ส่วนใหญ่โคอาลากินใบยูคาลิปตัวประมาณวันละ 200 ถึง 500 กรัม โดยปกติมันจะนอนถึง 16-18 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้
การสืบพันธุ์
ฤดูการสืบพันธุ์ของโคอาลาอยู่ในช่วงกันยายน ถึง มีนาคม ตัวเมียเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ถึง 4 ปี และมักมีลูกปีละตัว แต่ทั้งนี้อาจมีลูกปีเว้นปี หรือ ปีเว้น 2 ปี ก็ได้ ขึ้นกับอายุของตัวเมียและสภาพแวดล้อม
อายุขัยเฉลี่ยของโคอาลาตัวเมียประมาณ 12 ปี ทำให้มีลูกได้อย่างมาก 5 -6 ตัว ตลอดอายุขัยของมัน มันใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 34-36 วัน ลูกโคอาลาที่เกิดใหม่ มีความยาวเพียง 2 ซ.ม. และมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กรัม ผิวหนังสีชมพู ไม่มีขน ยังไม่ลืมตา และยังไม่มีหู
ลูกโคอาลาจะอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่ และกินนมแม่อยู่นาน 7-8 เดือน หลังจากอายุได้ 6-7 สัปดาห์ ลูกโคอาลามีความยาวของหัวประมาณ 26 ม.ม. และเมื่อเริ่มสัปดาห์ที่ 13 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 50 กรัม และมีความยาวของหัวเพิ่มขึ้นเป็น 50 ม.ม.
เมื่ออายุได้ 22 สัปดาห์ ตาของลูกโคอาลาจะเริ่มเปิด และมันจะเริ่มโผล่หัวออกมาจากกระเป๋าหน้าท้องของแม่ พออายุได้ 24 สัปดาห์ จะมีขนเต็มตัว และฟันซีกแรกเริ่มงอก สัปดาห์ที่ 30 ลูกโคอาล่าจะมีน้ำหนักประมาณ 0.5 ก.ก. และมีขนาดของหัวยาว 70 ม.ม.
ตอนนี้มันเริ่มใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกกระเป๋าหน้าท้องของแม่ สัปดาห์ที่ 36 ลูกโคอาลามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 1 ก.ก. และไม่เข้าไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องแม่อีกแล้ว ส่วนมากมันมักจะเกาะอยู่ที่หลังของแม่ แต่ในช่วงอากาศหนาว หรืออากาศชื้น มันก็จะกลับเข้าไปอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่อีก
สัปดาห์ที่ 37 ลูกโคอาลาเริ่มออกห่างจากแม่เพื่อเดินเที่ยวเล่น แต่ยังอยู่ในระยะใกล้ๆ สัปดาห์ที่ 44 ลูกโคอาลากล้าเดินออกมาไกลมากขึ้น แต่ยังไปเกินระยะทาง 1 เมตร ที่ห่างจากแม่
สัปดาห์ที่ 48 ลูกโคอาลายิ่งมีความอยากผจญภัย หรืออยากรู้อยากเห็นยิ่งขึ้น และไม่ส่งเสียงร้องอีกแล้วเมื่อแม่ของมันเดินห่างออกไป มันจะอยู่กับแม่ของมันถึงอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งช่วงนี้มันจะมีน้ำหนัก 2 ก.ก. กว่าเล็กน้อย
อายุขัย
ขึ้นกับปัจจัยรอบข้าง โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 13-18 ปี
การติดต่อสื่อสาร
โคอาลาใช้เสียงในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเสียงที่ใช้มีหลายลักษณะ โดยทั่วไปตัวผู้มักส่งเสียงร้องดัง เพื่อประกาศหรือบอกบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ ในขณะที่ตัวเมียจะไม่ค่อยส่งเสียงร้อง ตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังเมื่อมีอาการกร้าวร้าว
สำหรับโคอาลาตัวเมียที่มีลูกอ่อน จะใช้เสียงที่มีความอ่อนโยนกับลูกของตนเอง เมื่อเกิดความกลัวขึ้น โคอาล่าทั้งตัวผู้และตัวเมียจะใช้ส่งเสียงคล้ายเสียงเด็กร้องไห้ นอกจากนี้ โคอาลายังใช้กลิ่นของตนเองทำเครื่องหมายตามต้นไม้ที่ต่างๆ ในการติดต่อถึงกันอีกด้วย
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมูลจาก
http://www.bloggang.com/