ไม่ใช่แค่ปอด หัวใจก็โดนทำร้ายจากฝุ่น PM 2.5

22 มี.ค. 2566 เวลา 22:27 | อ่าน 133
แชร์ไปยัง
L
-Advertisement-
 
ไม่ใช่แค่ปอด หัวใจก็โดนทำร้ายจากฝุ่น PM 2.5

ในขณะที่คนไทยเกือบทั่วประเทศกำลังสำลักฝุ่น PM 2.5 กันอยู่นี้ก็มีผลการวิจัยของทีมนักวิยาศาสตร์ออสเตรเลียและจีนที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Planetary Health บอกว่า ประชากรเพียง 0.001% ของโลกเท่านั้นที่ได้หายใจเอากาศที่ไม่มีมลพิษเข้าร่างกาย ที่เหลืออีก 99.82% ล้วนสัมผัสกับฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ในระดับที่เป็นอันตรายซึ่งสูงกว่าระดับความปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ และที่แย่ไปกว่านั้นคือ ประเทศแถบเอเชียมีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก


นอกจากอาการที่เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังจากสัมผัสฝุ่น PM 2.5 อาทิ เจ็บคอ แสบจมูกเป็นผื่น ไปจนถึงอาการที่จะส่งผลในระยะยาวอย่างโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดแล้ว ฝุ่นจิ๋วตัวร้ายนี้ยังทำร้ายหัวใจของเราด้วย ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า กว่า 20% ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ และทุกๆ ปีมีมากกว่า 3 ล้านคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้

-Advertisement-

องค์การอนามัยโลกระบุว่า หากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกิน 10-25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคมะเร็ง

ผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 กับหัวใจนั้น หากเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันจะส่งผลให้เส้นเลือดเปราะ เส้นเลือดแตก และในผู้ป่วยโรคหัวใจจะเข้าไปกระตุ้นให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ส่วนในระยะยาวผลกระทบจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ กระตุ้นการอักเสบทั่วร่างกาย หลอดเลือดหนาตัวมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดเติบโตขึ้น

ข้อมูลจากสมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจแห่งยุโรป (ESC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 8.8 ล้านคนต่อปี จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 4.5 ล้านคน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มลพิษทางอากาศทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าการสูบบุหรี่ ซึ่งบุหรี่สามารถเลิกสูบได้ แต่มลพิษในอากาศหลีกลี่ยงไม่ได้

ระดับฝุ่น PM 2.5 ในปัจจุบันทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกลดลงถึง 2.2 ปี
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์อังกฤษพบว่า มลพิษทางอากาศยังก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่อีกด้วย โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นจากเครื่งยนต์สันดาปภายในกระตุ้นให้เซลล์ในปอดที่มีการกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งซ่อนร้นอยู่เติบโตขึ้น

ชาร์ลส์ สวอนตัน หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบันฟรานซิส คริก และมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) เผยว่า “เซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ที่จะก่อให้เกิดมะเร็งจะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วพวกมันจะอยู่เฉยๆ เราพบว่ามลพิษทางอากาศปลุกให้เซลล์เหล่านี้ที่อยู่ในปอดตื่น กระตุ้นให้มันเติบโตขึ้น และอาจก่อตัวเป็นมะเร็ง”

ทีมนักวิทยาศาสตร์คาดว่า มลพิษทางอากาศอาจกระตุ้นการเติบโตเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ที่อาจก่อมะเร็งที่อยู่ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย และด้วยเหตุนี้จึงกระตุ้นให้เกิดมะเร็งระยะแรกหลายชนิด และยังพบว่าเกิดมะเร็งชนิดอื่นในอัตราสูงในพื้นที่ที่มีฝุ่นขนาดเล็กหนาแน่น



กระตุ้นเซลล์ที่อยู่เฉยๆ
การสูบบุหรี่ยังคงเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด แต่ในปี 2019 การเสียชีวิตจากมะเร็งปอดทั่วโลกราว 300,000 เคสมีสาเหตุมาจากการสัมผัสฝุ่น PM 2.5

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษทำการทดสอลสมมติฐานที่ว่า ฝุ่น PM 2.5 ทำให้ปอดอักเสบและปลุกให้เซลล์ที่อยู่เฉยๆ ที่มีการกลายพันธ์ที่ก่ให้เกิดมะเร็งตื่นขึ้นมา ทำให้เซลล์พวกนี้เติบโตและก่อตัวเป็นมะเร็ง โดยมองหามะเร็งปอดที่ยีน epidermal growth factor receptor (EGFR) ซึ่งเป็นยีนที่พบการกลายพันธุ์มากที่สุดคือ 10% ในคนไข้มะเร็งปอดทั่วๆ ไป และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ในเอเชียพบได้ถึง 50%

นักวิจัยตรวจสอบข้อมูลของประชาชนกว่า 400,000 คนในอังกฤษ เกาหลีใต้ และไต้หวัน เปรียบเทียบกับอัตราการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ในพื้นที่ที่มีระดับ PM 2.5 แตกต่างกัน และพบการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ในอัตราสูง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่น ในผู้คนที่อาศัยอยู่ในพืนที่มีมีมลพิษทางอากาศสูง

จากนั้นทำให้หนูทดลองที่เป็นมะเร็งปอดจากการกลายพันธุ์ของยีน EGFR สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับปปกติที่มักพบตามเมืองต่างๆ โดยพบว่า มะเร็งมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นในหนูเหล่านี้มากกว่าหนูที่ไม่ได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศ

ที่น่าสนใจคือ นักวิจัยพบว่า การขัดขวางโมเลกุล IL-1β (interleukin-1β) ซึ่งปกติจะก่อให้เกิดการอักเสบและถูกปล่อยออกมาเพื่อตอบสนองต่อการสัมผัส PM 2.5 ช่วยป้องกันไม่ให้มะร็งก่อตัวในหนูทดลองเหล่านั้น

แม้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์จะค้นพบวิธีสกัดกั้นมะเร็งปอดที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 แล้ว แต่ทางที่ดีเราควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือหากเป็นไปได้ควรเปิดเครื่องฟอกอากาศเพื่อกดให้ค่าฝุ่นไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก


ข้อมูลจาก hfocus.org/

-Advertisement-

22 มี.ค. 2566 เวลา 22:27 | อ่าน 133


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
-Advertisement-
 
มาใหม่
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดี 4 มหาวิทยาลัยไทย จุฬาฯ-มหิดล-มช.-มข. สุดโดดเด่นในเวทีโลก ติดอันดับ Top 100 ในการจัดอันดับโลกด้านความยั่งยืนปี 2566
44 4 มิ.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 4-10 มิถุนายน 2566
106 4 มิ.ย. 2566
สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 พนักงานราชการลาไปช่วยภรรยาที่คลอดบุตร
67 3 มิ.ย. 2566
โฆษกรัฐบาลยืนยัน รัฐบาลให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค. 2566) แก่ผู้ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน คืนจริงส่วนลดค่าไฟฟ้าเดือนพ.ค. 150 บาท/ราย แก่ผู้ใช้ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน
98 1 มิ.ย. 2566
กรมบัญชีกลางปรับปรุงอัตราค่าบริการสาธารณสุขฯ ด้านค่าบริการรังสีรักษา เพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน
35 30 พ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 28 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2566
149 28 พ.ค. 2566
สพฐ. เปิดสอบครูผู้ช่วย 2566 ปฏิทินสอบรับสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ปี 2566
218 21 พ.ค. 2566
กทม. เตรียมเปิดสอบเจ้าพนักงานธุรการทั่วไปเพิ่มกว่า 371 ตำแหน่ง
352 21 พ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 พฤษภาคม 2566
246 20 พ.ค. 2566
กรมอุทยานฯ ขอขึ้นเงินเดือนผู้พิทักษ์ป่าจาก 9,000 เป็น 11,000 บาท หลังไม่ขึ้นมาสิบปี
235 18 พ.ค. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC chulatutor จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน