โฆษกรัฐบาลเผย กษ.เดินหน้านโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ดันเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยกลยุทธ์ตลาดนำ-นวัตกรรมเสริม-เพิ่มรายได้

6 พ.ย. 2566 เวลา 19:55 | อ่าน 57
แชร์ไปยัง
L
 

โฆษกรัฐบาลเผย กษ.เดินหน้านโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ดันเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยกลยุทธ์ตลาดนำ-นวัตกรรมเสริม-เพิ่มรายได้ ส่งเสริมผลิตถั่วเหลืองทดแทนการนำเข้าปีละ 3 ล้านตัน ปั้นโมเดลต้นแบบเพิ่มผลผลิตที่ จ.เชียงใหม่ เตรียมขยายผล


โฆษกรัฐบาลเผย กษ.เดินหน้านโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ดันเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยกลยุทธ์ตลาดนำ-นวัตกรรมเสริม-เพิ่มรายได้

วันนี้ (5 พ.ย.66) นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้เดินหน้านโยบายแก้ไขปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ผิดกฎหมาย ด้วยการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ปั้นโมเดลต้นแบบ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ สู่เมืองหลวงถั่วเหลืองของไทย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่มอบนโยบายและพบปะเกษตรกร พร้อมลงแปลงสาธิตการปลูกถั่วเหลืองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและเกษตรกรได้มีความรู้ความเข้าใจถึงศักยภาพของถั่วเหลืองไทยและต่อยอดร่วมกัน รวมทั้งร้อยเอก ธรรมนัส ได้เป็นประธานเปิดงาน “นวัตกรรมเสริมแกร่งถั่วเหลืองไทย เพิ่มรายได้เกษตรกร” ซึ่งมีการออกบูธนิทรรศการ การเสวนา และการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมมอบปัจจัยการผลิต โดยนำร่องพื้นที่ อ.แม่แตง เป็นโมเดลต้นแบบ ยกระดับพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองไทย ผลักดันสู่ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตามนโยบายของ กษ. สอดคล้องนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ของรัฐบาล ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบโล่รางวัลนักปลูกถั่วเหลืองมือทองประจำปี 2566 จำนวน 5 รางวัล ให้แก่เกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตสูงเป็นปีแรก ณ นิคมสหกรณ์แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยเกษตรกรที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 คือนายสุทิน แสงมณี เกษตรกรจากหมู่บ้านสันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 492 กก./ไร่


โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กษ. ได้ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ดำเนินการโครงการนำร่องโมเดลเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการปลูกถั่วเหลืองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ จ.เชียงใหม่ โดยเน้นส่งเสริมถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผู้ประกอบการนิยมใช้ โดยผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ในพื้นที่ อ.แม่ริม และ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนำร่องดังกล่าวจำนวน 26 ราย พบว่า สามารถส่งเสริมเกษตรกรปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตต่อไร่เกิน 400 กก. จำนวน 12 ราย และได้ผลผลิตต่อไร่เกิน 300 กก. จำนวน 12 ราย ซึ่งมากกว่าผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 267 กก. ต่อไร่ และถ้าผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 300 - 400 กก. เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิ หรือกำไร ประมาณไร่ละ 3,500 - 4,700 บาท ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนสุทธิของข้าวเหนียว


“การดำเนินงานดังกล่าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกษตรกรสนใจและหันมาปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่สูง เกษตรกรมีรายได้ดี มีความกินดีอยู่ดี ตรงกับนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลที่ว่า เพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยกลยุทธ์ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว แต่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงกว่า หนึ่งในนั้นคือการผลิตถั่วเหลืองทดแทนการนำเข้าถั่วเหลืองได้ปีละ 3 ล้านตัน ทั้งนี้ การส่งเสริมโมเดลการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ในการปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ตนเอง และเพื่อเพิ่มวัตถุดิบป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม ปูทางลดการนำเข้า และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ อ.แม่แตง และ อ.แม่ริม เป็นพื้นที่นำร่องและเป็นโมเดลต้นแบบในการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่ง สศก.จะร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลโครงการไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในระยะต่อไป” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


ทั้งนี้ ถั่วเหลืองนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่สามารถผลิตหรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นใช้สกัดน้ำมัน แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตอาหารสัตว์ จึงทำให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ อีกทั้งถั่วเหลืองเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำเพื่อการเกษตรไม่มาก หรือนอกเขตชลประทาน ที่สำคัญถั่วเหลืองยังช่วยบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารในดิน ลดการใช้ปุ๋ยในการปลูกพืชฤดูถัดไป

แต่ปัจจุบันประเทศไทยกลับสามารถผลิตถั่วเหลืองได้เพียง 2 - 3 หมื่นตันต่อปี และยังได้ผลผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทั้งที่มีความต้องการใช้ถั่วเหลืองมากถึง 3.2 ล้านตันต่อปี จึงทำให้ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้ามากถึง 99% กษ. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานในสังกัด กษ. ได้ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาส่งเสริมผลผลิตถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จนสามารถเพิ่มผลผลิตจาก 267 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 300 - 400 กิโลกรัม/ไร่ เป็นผลสำเร็จ

6 พ.ย. 2566 เวลา 19:55 | อ่าน 57


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
จอดรถ พวงมาลัยไม่ตรง เสียหายมากกว่าที่คิด
171 5 ธ.ค. 2566
เปิดไล่ฝ้าทิ้งไว้ อาจทำกระจกแตกทั้งบาน?
104 5 ธ.ค. 2566
ขับรถเกียร์ออโต้ อย่างไร ให้ประหยัดน้ำมัน ?
160 5 ธ.ค. 2566
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
24 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
254 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
206 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
403 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
327 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
299 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
149 28 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน