ที่มาของ ปฏิทินแห่งแรกของโลก

6 ก.ย. 2556 เวลา 08:42 | อ่าน 9,859
 

ปฏิทินของชาวอียิปต์โบราณ

ชาวไอยคุปต์เป็นเผ่าพันธุ์ทีช่างสังเกต อันนำมาซึ่งความคิด ขยายผลไปสู่การค้นคว้า และลงท้ายด้วยชิ้นงานที่เป็นรูปธรรม แล้วยังต่อเนื่องสู่วิวัฒนาการแห่งอารยธรรมต่อมวลมนุษย์โลกอีกหลายท้องที่ด้วยกัน อย่างนี้ใช่ไหมที่เขาเรียกว่า “วิทยาศาสตร์” ?

แต่ก่อนนี้ เข้าใจกันว่า กรีซเป็นชาติแรกที่คิดค้นเรื่องของ “ปฏิทิน” ได้ ต่อเมื่อได้พบภาพแกะปฏิทินสลักบนผนังแห่งวิหารแห่งเมืองคาร์นัค จึงได้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ บรรพชนม์ชาวอียิปต์แต่โบราณกาลนั่นเอง เมื่อประดิษฐ์ตัวอักษร ประดิษฐ์แผ่นกระดาษสำหรับเขียน มีสีหมึกและมีปากกาแล้ว การบันทึกความจำได้บนแผ่นกระดาษจึงเกิดขึ้นในเวลาต่อมา และแพร่หลายไปทั่วทุกทวีป



ชาวอียิปต์โบราณใช้ปฏิทินจันทรคติสังเกตดาว “ซิริอุส” (Sirius) ที่สว่างสุดบนฟ้าในเวลากลางคืนเป็นเครื่องบอกเวลา

แรกเริ่มเดิมทีนั้น ชาวอียิปต์โบราณนับวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับชาติโบราณอื่นๆ คือ นับทาง “จันทรคติ” โดยกำหนดเอาข้างขึ้นคือคืนที่พระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงคืนแรก ไปบรรจบกับคืนที่พระจันทร์ส่องแสงเต็มดวงในคราวต่อไป ซึ่งก็ถือว่าเป็น “หนึ่งเดือน” หรือ “หนึ่งรอบ” เพื่อใช้ในสัญญาที่ชาวนายืมข้าวมากิน เช่น ขอยืมข้าวมาเป็นเวลา 9 เดือน เมื่อพระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงแล้ว 8 ครั้ง ก็หมายความว่ามีเวลาเพียงพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1 เดือน ก็จะต้องนำข้าวที่ยืมมานั้นไปคืนเจ้าของ แต่จากการที่นับเดือนทางจันทรคตินี้ ในเดือนหนึ่งๆ ที่จะถึงพระจันทร์เต็มดวงนี้มีไม่เท่ากัน บางเดือนก็มี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ไม่แน่นอน ทำให้จำนวนวันในปีหนึ่งๆ ไม่เท่าเทียมกัน

ชาวอียิปต์โบราณก็คงปวดหัวและงง ๆ อยู่กับปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ คงคิดอยากจะแก้ไขธรรมชาติอยู่หรอก และก็คงจะมีการทดลองและพิสูจน์ออกมาแล้วว่าเป็นไปได้

ก็อย่างว่านั่นแหละ คนที่มีความช่างคิดช่างค้นอย่างชาวอียิปต์โบราณเช่นนี้ มีหรือจะปล่อยให้ความไม่เท่าเทียมนี้เกิดขึ้นต่อไป เขาจึงได้จัดทำปฏิทินขึ้นมาใหม่เสีย โดยเริ่มจากหลักการที่ว่า

“ให้ 1 ปีมี 12 เดือน”

“ให้ 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันหมด”

“ให้ 1 ปีมี 360 วัน”

“ครบ 1 ปีแล้วก็ให้เพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 365 วัน”

อยู่ ๆ ชาวมนุษย์โบราณจะมาเพิ่ม 5 วันเอาเสียดื้อ ๆ ได้อย่างไรกัน ? เรื่องนี้มีที่มา

ชีวิตของคนโบราณต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งที่รับจ้างแรงงานให้กับตัวเองเพื่อปากท้องของตัวเอง หรือที่รับจ้างทำงานให้กับคนอื่น แต่เพื่อเลี้ยงปากท้องของตัวเอง หรือปากท้องของผู้มีอำนาจเหนือตนก็ตาม แบบไม่ได้หยุดได้หย่อนเอาเสียเลย หากเราจะให้เห็นภาพชัดเจนก็ลองดูพวกสิงห์สาราสัตว์ทั้งหลาย ที่เมือตอนพระอาทิตย์รุ่งสว่างแล้วต่างก็ลุกออกจากถ้ำไปหาอาหาร และจะกลับมาสู่รวงรังก็เมื่อตอนพระอาทิตย์จะอับแสง มนุษย์ดึกดำบรรพ์ของพวกเราก็คงเช่นเดียวกัน คงดำรงชีวิตไม่แตกต่างกันกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เท่าใดนัก แต่กษัตริย์อียิปต์โบราณให้ค่าของคนที่เหนือกว่าสรรพสิ่งทั้งหลาย จะไม่ให้เหนือกว่าอย่างไรได้ ในเมื่อสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า “คน” นี้ สามารถทำทุกส่งทุกอย่างตามที่องค์กษัตริย์จะบัญชามา พวกเขาถือว่า “บัญชาจากกษัตริย์คือบัญชาจากพระเจ้า” ไม่ว่าจะเป็นการหาข้าวปลาอาหาร การล่าหาสมบัติ การรุกรานชนเผ่าต่าง ๆ และการป้องกันไม่ให้เผ่าต่างๆ เข้ามารุกรานเผ่าตน เป็นต้น ก็ล้วนทำเพื่อองค์กษัตริย์เท่านั้น อย่างนี้ต้องเห็นใจกันมากหน่อย พระองค์จึงกำหนดให้ 5 วันสุดท้ายของปีนั้น เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีของประชาชน ให้ทุกคนได้เฉลิมฉลองและสนุกสนานหลังจากที่ทำงานมาเหนื่อยทั้งปี แล้วจะได้เริ่มต้นปีใหม่ทำงานตัวเป็นเกลียวเพื่อองค์กษัตริย์อีกต่อไป

ฟังแล้วก็ให้คิดถึงวันหยุดประจำปีของคนไทยเรา ที่กระทรวงแรงงานได้กำหนดไว้ว่าใน 1 ปี ให้บริษัทจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ รู้แต่ว่าแนวคิดเช่นนี้มาจากประเทศอุตสาหกรรมในยุโรป แต่ไม่รู้ว่าต้นตอมาจากไหน ก็เพิ่งมาคิดได้ตอนนี้เองว่า ชาวอียิปต์มีระบบการบริหารบุคคลมาแล้วถึง 5,000 – 6,000 ปี

นักโบราณศึกษาจึงยกย่องให้ชาวอียิปต์โบราณคือผู้ที่คิดค้น “ปฏิทินของโลก” นับถึง พ.ศ. 2547 นี้ก็ตก6,255 ปีพอดีที่โลกได้นำเอาปฏิทินของชาวอียิปต์มาใช้เป็นของชาวโลก และในกาลต่อมาเมื่อชาวยุโรปรุ่นหลัง ๆ ได้รู้จักวิชาดาราศาสตร์มากขึ้น จึงได้พัฒนาและดัดแปลงจำนวนวันในแต่ละเดือนให้มี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันบ้าง 29 วันบ้างตามเหตุผลทางอธิกมาส เช่นที่พวกเราคุ้นเคยในทุกวันนี้

การจดวันเดือนปีตามปฏิทินที่คิดขึ้นมานั้น นานๆ เข้าก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่า เป็นปีที่เท่าไหร่ และล่วงมาแล้วกี่ปี ทำให้เอกสารสัญญาต่างๆ มากขึ้นทุกที จนไม่สามารถอ้างอิงได้ ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเรียงแะลเรียกปีตามลำดับของเหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น ปีน้ำมาก ปีน้ำน้อย ปีไฟไหม้ใหญ่ หรือปีที่มีโรคอหิวาต์ระบาดเป็นต้น มาเป็นชื่อของปี เป็นต้น และสิ่งเหล่านี้ก็กลายมาเป็น “พงศาวดารโลก” ในเวลาต่อมาเลยทีเดียว หลักฐานบัญชีรายชื่อปีอย่างเก่าแก่ที่สุดยังมีเหลือมาอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า “แผ่นหิน – ปาเลอร์โม (Palermo)” ในเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี ซึ่งชาวโรมันโบราณได้ขนไปในยุคที่ตัวเอง เรืองอำนาจ

อย่างไรก็ตาม การวิวัฒนาการของมนุษย์โลกไม่มีการหยุดยั้ง เช่นเดียวกับวิวัฒนาการของธรรมชาติรูปแบบอื่นทั่วไป ปฏิทินของชาวอียิปต์โบราณก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาจน เป็นพุทธศักราช หรือคริสต์ศักราช เช่นที่เรายังคงใช้กันอยู่ตราบทุกวันนี้



ที่มา: http://physicskroolek.wordpress.com/2011/05/18/

ขอบคุณภาพประกอบ http://www.bloggang.com
ข้อมูลจาก http://board.postjung.com/646434.html

6 ก.ย. 2556 เวลา 08:42 | อ่าน 9,859


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
630 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
730 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
760 30 มิ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน