ยาเป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ ... จริงหรือ?

3 ส.ค. 2567 เวลา 14:13 | อ่าน 6,349
 

ถ้าท่านหรือญาติของท่านเป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง มีโรคประจำตัวหลายโรค มีปัญหาการทรงตัว เดินเซ ๆ ไม่ค่อยมั่นคง ทำท่าจะล้ม หรือเคยหกล้มมาแล้วในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และกำลังใช้ยาหลายชนิด การทบทวนรายการยาที่ท่านกำลังใช้อยู่คือสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงของการหกล้ม


ยาเป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ ... จริงหรือ

เหตุผลที่เราควรให้ความสนใจทบทวนรายการยาของผู้สูงอายุก็เพราะว่ารายการยาที่ไม่เหมาะสม จำนวนชนิดของยาที่มากเกินความจำเป็น และขนาดของยาที่สูงเกินไปในผู้สูงอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุด (และแก้ไขได้ง่ายที่สุดด้วย) ของการหกล้ม ยิ่งผู้สูงอายุใช้ยาหลายชนิด และใช้ในขนาดที่สูง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงทำให้หกล้มง่ายขึ้น



ในบรรดายาที่ผู้สูงอายุใช้บ่อย ๆ มียาหลัก ๆ 3 กลุ่มที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม


1. ยาที่มีออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychoactives) และมีผลกระทบต่อสมอง ถ้ากินติดต่อกันนาน ๆ เช่น ยานอนหลับ/ยากล่อมประสาททั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็นยากลุ่ม Benzodiazepines ที่ลงท้ายชื่อว่า – zepam หรือยากลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์คล้ายกัน)} ยารักษาอาการทางจิตเวชประเภท antipsychotics ที่มักใช้ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการสับสน, ยาต้านเศร้า (antidepressants), ยากันชัก (anticonvulsants), ยาแก้ปวดแรง ๆ พวก opioids, ยาคลายกล้ามเนื้อ (ที่กินแล้วง่วง คอแห้ง และท้องผูก), ยาแก้แพ้/ลดน้ำมูก (ที่ทำให้ง่วง)

2. ยาลดแรงดันเลือด เช่น ยาชนิดต่าง ๆ ที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขนาดยาที่สูงเกินไปจนทำให้แรงดันเลือดตัวบนต่ำ (เช่น ต่ำกว่า 100-110 มม.ปรอท) ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการมึนงง หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า และหกล้มได้

3. ยารักษาโรคเบาหวาน ถ้าใช้ยาชนิดหรือขนาดไม่เหมาะสมอาจทำให้ระดับน้ำตาลและน้ำตาลสะสม (hemoglobin A1c) ในเลือดลดลงต่ำเกินไป ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมึนงง เดินเซ และเสี่ยงต่อการหกล้มได้

ถ้าผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มกำลังใช้ยาเหล่านี้ อย่าเพิ่งรีบหยุดยาของท่านเองโดยพลการ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้สั่งยา ขอให้ช่วยทบทวนรายการยาเหล่านี้ว่ายังจำเป็นหรือไม่ สามารถหยุดยาหรือลดขนาดยาได้หรือไม่ หรือมียาชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่าทดแทนหรือไม่


“ผู้สูงอายุกินยาน้อยที่สุดได้ยิ่งดี เพราะยิ่งท่านมีอายุสูงขึ้น ร่างกายของท่านจะกำจัดยาปริมาณมากได้น้อยลง และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น”



โดย รศ. นพ. รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

3 ส.ค. 2567 เวลา 14:13 | อ่าน 6,349
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ความคืบหน้าการจ่ายเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ รอบการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568
24 29 เม.ย. 2568
ครม. เห็นชอบโครงการสลากการกุศล เพื่อสนับสนุนโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศลฯ
22 29 เม.ย. 2568
ออมสินร่วมฉลอง 150 ปี ก.คลัง จัดโปรแรง เงินฝาก 150 วัน ดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 2.55% ต่อปี
23 28 เม.ย. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 27 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2568
43 27 เม.ย. 2568
สัปดาห์นี้รับมืออากาศร้อนจัด แนะกลุ่มเสี่ยง - ผู้ใช้แรงงาน เลี่ยงการทำงานกลางแจ้งต่อเนื่อง พักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
31 27 เม.ย. 2568
ยูเนสโกยกย่อง 3 มรดกไทย สมุดไทยคำหลวง – พระเจ้าช้างเผือก – เอกสารอาเซียน
25 26 เม.ย. 2568
รัฐบาลนำสื่อสัญจรติดตามโครงการ นาหว้าโมเดล
27 26 เม.ย. 2568
ด่วน..!!ผลตอบแทนดี.. รัฐบาลเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ปี 68
90 24 เม.ย. 2568
รัฐบาลย้ำเด็กทุกคนต้องมีที่เรียน!....สพฐ. ยืนยันโรงเรียนยังรับ นร. ม.1 - ม.4 ได้อีก 3 แสนคน
50 24 เม.ย. 2568
เตรียมจองซื้อ “หุ้นกู้ดิจิทัล SCGP” บนแอปฯ “เป๋าตัง” ให้สิทธิผู้ถือหุ้นกู้ดิจิทัล SCGP จองซื้อก่อนเป็นครั้งแรก เปิดจอง มิ.ย. 68 นี้
55 23 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...