วัยเก๋าไม่โดนลวง สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน

31 ส.ค. 2567 เวลา 10:13 | อ่าน 66
 
วัยเก๋าไม่โดนลวง สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน

ภัยรอบตัวผู้สูงอายุ ในยุคที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ มีภัยคุกคามทั้งด้านสุขภาพและทางเทคโนโลยี ด้วยความก้าวของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกกลุ่มวัยรวมถึงผู้สูงอายุต้องปรับตัวให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้รับรู้และเข้าถึง สื่อ ข้อมูลข่าวสาร สินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างเท่าทัน รวดเร็วและสะดวกสบาย ซึ่งมีจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้เพียงปลายนิ้วด้วย สมาร์ทโฟน แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงทั้งสื่อที่มีประโยชน์ และไม่ที่ไม่เกิดประโยชน์บางครั้งอาจเป็นโทษที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเสียหายส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ1 ตลอดจนภัยคุมคามที่เกิดขึ้นจากทางเทคโนโลยีที่ผู้สูงอายุอาจตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ซึ่งมาในหลากหลายรูปแบบซึ่งมีความละเอียดอ่อนและอาจมีการแอบแฝงของมิจฉาชีพ เช่น ประกันสุขภาพ ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์ชะลอวัย สินค้าหรือบริการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ2 จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมักจะเป็นกลุ่มที่ตกเป็นเป้าหมายหรือเหยื่อ เนื่องจากมีความพร้อมด้านเวลา ด้านประสบการณ์ชีวิต และด้านการเงิน ผ่านการใช้สื่อในทุกรูปแบบโน้มน้าวเพื่อชักจูงความคิดและความเชื่อของผู้สูงอายุ1 ผู้สูงอายุสามารถเสริมสร้างความปลอดภัยในการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อทางด้านสุขภาพได้ด้วยการมี “ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ”



ความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำคัญอย่างไร


“ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” มีความสำคัญต่อทุกกลุ่มวัยเป็นความสามารถและทักษะที่จะทำให้ดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงสมวัย ไม่ถูกหลอกหรือมีพฤติกรรมที่ผิดพลาดส่งผลต่อสุขภาพของตนเอง จนเกิดโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรง สูญเสียรายได้ เวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จนส่งผลกระทบให้เป็นภาระคนใกล้ชิดหรือครอบครัว3


สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน



ความรู้การดูแลสุขภาพ ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ หลายช่องทางให้เลือกเข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบายมากขึ้นจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เพจเฟสบุ๊ค ยูทูป ติ๊กต๊อก เป็นต้น ข้อมูลเป็นจำนวนมากทำให้ต้องมีทักษะที่สำคัญในการคัดกรอง พิจารณา เลือกรับสื่อ ให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและเกิดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ปลอดภัย ได้ง่าย ๆ ด้วยวิธี หยุด-คิด-ถาม-ทำ1,4 ดังนี้


1) หยุด ตั้งสติก่อนเชื่อ ทำตาม ซื้อสินค้าด้านสุขภาพ ส่งต่อข้อมูล โดยยังไม่อ่าน ดู ฟัง ผ่านการคิดอย่างรองครอบ

2) คิด พิจารณาสื่อและทำความเข้าใจให้รอบครอบได้แก่ ความน่าเขื่อถือและที่มาของสื่อ เจตนาหรือเนื้อหาของสื่อสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร สื่อมีเหมาะสมหรือมีความจำเป็นกับเราหรือไม่ สื่อนี้กำลังบอกอะไรบ้าง

3) ถาม ควรมีการตั้งคำถามก่อนการหาคำตอบ อาจเริ่มจากใช้คำถามสำคัญ 3 ข้อ
1) ฉันมีปัญหาสุขภาพเรื่องอะไร
2) ฉันต้องทำอะไรบ้าง
3) สิ่งที่จะต้องทำสำคัญอย่างไร เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ได้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากเดิมหรือเพื่อทำให้หายสงสัย เพิ่มความมั่นใจ คลายความไม่รู้ เช่น การหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต หนังสือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วต้องทำความเข้าใจเนื้อหา และสามารถอธิบาย บอก เขียน สาระสำคัญเรื่องนั้นได้

4) ทำ เมื่อได้ข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้อง จึงนำมาใข้ในการวางแผนการดูแลตนเองและลงมือปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการตั้งเป้าหมาย วางแผนการดูแลสุขภาพ และสามารถทำตามแผนที่กำหนดไว้ได้อย่างสม่ำเสมอจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทิศทางที่ดีขึ้น

วิธีการเช็คแหล่งข้อมูลทางสุขภาพ ให้ปลอดภัย

1) เช็คแหล่งที่มาของสื่อ เป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้หรือไม่ เช่น เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่อยู่ได้

2) เช็ควันเวลาที่เผยแพร่ ไม่เก่าหรือนานเกินไป เพราะความรู้หรือข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพมีการอัพเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

3) เลือกรับรูปแบบสื่ออย่างรอบครอบ เช่น สื่อบุคคลอาจทำให้เกิดการคล้อยตามและทำตามได้ง่ายมากที่สุด เพราะด้วยคำพูด น้ำเสียงและท่าทาง สื่ออินเทอร์เน็ตใช้งานง่าย สะดวก ข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบมีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงทำให้คล้อยตามและหลงเชื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

ดังนั้น ผู้สูงอายุจะสามารถปลอดภัยและห่างไกลจากภัยทางสุขภาพจากทั้งพฤติกรรมสุขภาพ และจากสื่อสุขภาพแบบดิจิตอล ตลอดจนผลิตภัณฑ์ บริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วจะต้องมีการฝึกการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อออนไลน์ ฝึกคิดวิเคราะห์สื่อ กล้าที่จะสอบถามโดยไม่รู้สึกอาย และนำมาความรู้ที่ถูกต้องมาวางแผนดูแลสุขภาพตนเองให้เป็นผู้ที่มีสุขภาวะที่ดีและห่างไกลจากภัยรอบตัวในทุกมิติ


ข้อมูลจาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1594 กนกฉัตร สมชัย นักสุขศึกษา
คลินิกตรวจสุขภาพและส่งเสริมสุขภาวะ
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

31 ส.ค. 2567 เวลา 10:13 | อ่าน 66


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 8-14 กันยายน 2567
45 9 ก.ย. 2567
คำไทยน่ารู้ ความหมายของคำว่า เกษียณ เกษียร เกษียน ใช้อย่างไร
30 4 ก.ย. 2567
เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร อายุ 0-6 ปี จาก 800 บาท เป็น 1,000 บาท
233 1 ก.ย. 2567
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok” พบ “โจรออนไลน์” เปิด 4 บัญชีปลอม ลวงดึงข้อมูล -ดูดเงิน ปชช.
69 1 ก.ย. 2567
ลมยางควรเติมบ่อยแค่ไหน เติมเท่าไหร่ดี
46 1 ก.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 กันยายน 2567
506 1 ก.ย. 2567
บัตรทอง “ทำฟันฟรี” แค่มีบัตรประชาชนใบเดียว
83 31 ส.ค. 2567
วัยเก๋าไม่โดนลวง สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน
66 31 ส.ค. 2567
สัญญาณเตือนของภาวะสมองเสื่อมระยะแรก
76 31 ส.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 25-31 สิงหาคม 2567
785 25 ส.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน