เผยปีที่แล้วพบคนไทยป่วยไตเรื้อรัง 1.12 ล้านคน คารม เตือน ปชช. เช็กก่อนทาน ใช้ยาไม่ระวัง เสี่ยงไตวาย เปิดรายชื่อ ยาที่เป็นอันตรายต่อไต

19 มี.ค. 2568 เวลา 08:31 | อ่าน 143
 
เตือน ปชช. เช็กก่อนทาน ใช้ยาไม่ระวัง เสี่ยงไตวาย เปิดรายชื่อ ยาที่เป็นอันตรายต่อไต

วันนี้ (17 มีนาคม 2568) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลห่วงใยสุขภาพประชาชน เตือนประชาชนเรื่องการใช้ยาที่ไม่ระวัง เสี่ยงไตวาย เพราะโรคไต เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากังวล เนื่องจากเป็นโรคที่ป่วยแล้วส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันผู้ป่วยเป็นโรคไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และหนึ่งในสาเหตุการเกิดโรค คือ ปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล โดยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปีมากถึง 1.12 ล้านคน ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี


นายคารม แนะวิธีเลี่ยงไตวายด้วยการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ป้องกันการเกิดโรคไตจากการใช้ยา โดยยาที่มักก่อให้เกิดอันตรายต่อไต มีดังนี้

กลุ่มยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น
กลุ่มที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุด ยาต้านจุลชีพบางชนิด เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)

นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้อีก โดยเฉพาะยาชุดที่ผิดกฎหมายมักมียาที่เป็นพิษต่อไตอย่างสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์รวมอยู่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งมักลักลอบใส่สารที่อันตรายยาไม่เหมาะสม สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายต่อไต

นายคารม กล่าวต่อว่า นอกจากยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่แอบอ้างสรรพคุณว่าบำรุงไตหรือล้างไต ซึ่งไม่สามารถโฆษณาสรรพคุณนี้ได้ถือว่าผิดกฎหมาย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แม้จะไม่ได้เป็นพิษต่อไตโดยตรง แต่อาจสร้างปัญหาได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยละเลยการดูแลไต จนโรคลุกลามได้ ส่วนการสังเกตอาการโรคไตนั้น วิธีที่ได้ผลชัดเจนที่สุดคือการเจาะเลือดตรวจ แต่เราสามารถสังเกตอาการสัญญาณเตือนโรคไตได้ ดังนี้ เหนื่อยง่าย บวม ปวดสีข้างด้านหลัง ปัสสาวะน้อยมากหรือปัสสาวะมีฟอง แต่เพื่อให้มั่นใจควรทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต ขอแนะการป้องกันการเกิดโรคไตจากการใช้ยา

1.หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาเอง แนะนำปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
3.ไม่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริมหรือยาจากสมุนไพรที่ผิดกฎหมายไม่ได้ขึ้นทะเบียน โอ้อวดสรรพคุณ รวมถึงยาชุด

“รัฐบาลเน้นย้ำให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้สูงอายุ โรคไตเรื้อรัง คือ สภาวะที่ไตถูกทำลายนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน มักไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรกทำให้หลายคนไม่รู้ตัวจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย การตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการชะลอความเสื่อมของไตและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน” นายคารม ระบุ

19 มี.ค. 2568 เวลา 08:31 | อ่าน 143
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ความคืบหน้าการจ่ายเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ รอบการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568
24 29 เม.ย. 2568
ครม. เห็นชอบโครงการสลากการกุศล เพื่อสนับสนุนโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศลฯ
22 29 เม.ย. 2568
ออมสินร่วมฉลอง 150 ปี ก.คลัง จัดโปรแรง เงินฝาก 150 วัน ดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 2.55% ต่อปี
23 28 เม.ย. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 27 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2568
43 27 เม.ย. 2568
สัปดาห์นี้รับมืออากาศร้อนจัด แนะกลุ่มเสี่ยง - ผู้ใช้แรงงาน เลี่ยงการทำงานกลางแจ้งต่อเนื่อง พักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
32 27 เม.ย. 2568
ยูเนสโกยกย่อง 3 มรดกไทย สมุดไทยคำหลวง – พระเจ้าช้างเผือก – เอกสารอาเซียน
25 26 เม.ย. 2568
รัฐบาลนำสื่อสัญจรติดตามโครงการ นาหว้าโมเดล
27 26 เม.ย. 2568
ด่วน..!!ผลตอบแทนดี.. รัฐบาลเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ปี 68
91 24 เม.ย. 2568
รัฐบาลย้ำเด็กทุกคนต้องมีที่เรียน!....สพฐ. ยืนยันโรงเรียนยังรับ นร. ม.1 - ม.4 ได้อีก 3 แสนคน
50 24 เม.ย. 2568
เตรียมจองซื้อ “หุ้นกู้ดิจิทัล SCGP” บนแอปฯ “เป๋าตัง” ให้สิทธิผู้ถือหุ้นกู้ดิจิทัล SCGP จองซื้อก่อนเป็นครั้งแรก เปิดจอง มิ.ย. 68 นี้
55 23 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...