ถ้าคุณชอบกินอาหารถุง-ข้าวหน้าเป็ด-ข้าวขาหมู-ข้าวคลุกกะปิ ต้องอ่านข่าวนี้ คุณอาจเป็น1ใน8ล้านคนที่ป่วย

7 มี.ค. 2557 เวลา 09:46 | อ่าน 6,635
 
แพทย์ชี้คนไทยป่วยโรคไต 8 ล้านคน ทำรัฐสูญเงินกว่า 3 พันล้านบาท/ปี เผยเหตุกินจานด่วน อาหารถุง รสเค็ม แนะเลี่ยงเมนู"ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ"


เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงจัดกิจกรรมสัปดาห์วันไตโลก และสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม โดยกิจกรรมวันไตโลก จัดวันที่ 9 มีนาคม ที่แกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี่ ส่วนสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม วันที่ 10-16 มีนาคม ที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ

ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ แถลงว่า ปัจจุบันมีคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 21.4 หรือ 11.5 ล้านคน โรคไต ร้อยละ 17.5 หรือ 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด ร้อยละ 1.4 หรือ 0.75 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 1.1 หรือ 0.5 ล้านคน โดยโรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง กินอาหารรสเค็มจัดเป็นประจำ คือ บริโภคอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสเค็ม ได้แก่ น้ำปลา กะปิ ซีอิ๊วขาว เกลือ ผงชูรส และผงปรุงรสต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงเกินปริมาณแนะนำถึง 2 เท่า หรือโซเดียม 4,320 มิลลิกรัม หรือเปรียบเทียบเป็นเกลือ 10.8 กรัมต่อวัน

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย แถลงว่า การบริโภคอาหารเค็มจัดเสี่ยงเกิดโรคไตสูง โดยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายถึง 2 แสนคน และยังป่วยเพิ่มอีกปีละ 7,800 คน รอการผ่าตัดเปลี่ยนไต 40,000 คน แต่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไตเพียง 400 คนเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 2 แสนบาทต่อคน เมื่อป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณถึง 3,000 ล้านบาท และปัจจุบันภาครัฐให้สิทธิผู้ป่วยทุกคนฟอกไตผ่านช่องท้องฟรี

ขณะที่ ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ราชวิทยาลัยอายุแพทย์ฯ แถลงว่า คนไทยได้รับโซเดียมจากการกินอาหารในแต่ละมื้อโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมักอยู่ในอาหารแปรรูป โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสที่นิยมใช้มาก 5 ลำดับแรก คือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่า เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 960-1,420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม เป็นต้น ที่สำคัญคนไทยนิยมกินอาหารถุงปรุงสำเร็จ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815-3,527 มิลลิกรัม อาทิ ไข่พะโล้ แกงไตปลา คั่วกลิ้ง เป็นต้น ส่วนอาหารจานเดียวที่มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งจาน อาทิ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู และข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น

.........



(ที่มา:มติชนรายวัน 27 ก.พ.2557)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393553742&grpid=&catid=09&subcatid=0902


7 มี.ค. 2557 เวลา 09:46 | อ่าน 6,635


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
คารม แนะนำประชาชนดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”แอปที่รวบรวมบริการของภาครัฐไว้มากที่สุดกว่า 83 บริการ สะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา
7 27 ก.ค. 2567
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
643 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
754 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน