นกเงือก นกที่รักเดียวใจเดียวและผู้ปลูกป่า

13 ก.พ. 2558 เวลา 20:56 | อ่าน 26,264
 
นกเงือก

นกเงือก (อังกฤษ: Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว[3]
นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3]
ลูกนกเงือก
ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา[4]
และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่างๆ[5]
นกเงือก

พบทั่วโลกมี 55 ชนิด[6]ใน 14 สกุล มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย

นกเงือก
นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก

นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ[3]

ลักษณะเด่นของนกเงือกA
นกเงือก
นกเงือกมีลักษณะที่สำคัญ คือ มีปากขนาดใหญ่โค้ง มี โหนก (Casque) ประดับเหนือปากยกเว้นนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill) ที่ไม่มีโหนก ลักษณะของโหนกเป็น โพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำอยู่ภายใน แต่โหนกของนกชนหิน (Helmeted Hornbill) นั้นกว่าครึ่งความยาวของโหนกตันดุจ เดียวกับงาช้าง โหนกของนกเงือกมีขนาดและรูปร่างหลากหลาย บ้างก็มีขนาดใหญ่ แบน กว้าง ดัง โหนกของนกกก บ้างก็มีรูป ทรงกระบอก ทอดนอนตามความยาวของจงอยปาก มีปลายงอนดู คล้ายกับนอของแรด ดังโหนกของนกเงือกหัวแรด อันเป็นที่มาของชื่อ Hornbill บางชนิดมีโหนกขนาดเล็ก เป็นลอนดูคล้ายฟันกราม ของช้าง เช่น โหนกของนกเงือกกรามช้าง (Wreathed Hornbill) นกเงือกเป็นนกที่บินเสียงดังมาก โดยเฉพาะนกเงือกขนาดใหญ่ เช่น นกกก นกเงือกกรามช้าง เพราะด้านใต้ปีกของนกเงือกไม่มีขนปกคลุม (Under wing coverts) เมื่อกระพือปีกแต่ละครั้งอากาศจะผ่านช่องว่างโคนขนปีกจึงเกิดเสียงดัง

การทำรัง
นกเงือกจับคู่แบบ ผัวเดียวเมียเดียว ฤดูทำรังของนกเงือก เริ่มต้นช่วงฤดูแล้ง ราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ระยะนี้นกเงือก จะแยก จากฝูง มาหากินบริเวณโพรงรังเก่าเพื่อปกป้องรังและพื้นที่ทำรัง รังของนกเงือก คือ โพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยในต้นไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) มากที่สุด ขนาดของ ต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอที่นก เงือกจะทำรังได้นั้นมีเส้นรอบวงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ในเมื่อนกเงือกไม่ สามารถเจาะโพรงรังเองได้เหมือนนกหัวขวาน จึงต้องหาโพรงไม้ใน ธรรมชาติที่เหมาะสมแคบๆ เพียงพอที่นกเงือกตัวผู้จะส่งอาหารให้แก่นกเงือกตัวเมียซึ่งจะออกไข่ กกไข่ และเลี้ยงลูกอยู่ภายในโพรงจนกว่าลูกนกจะโตพอที่จะบินได้ จึงกะเทาะวัสดุที่ปิดปากโพรงออกมา
นกเงือกป้อนอาหาร โพรงนกเงือก
นกเงือกเป็นนกที่สะอาด ทั้งแม่และลูกนกจะถ่ายมูลผ่านปากโพรง เมื่อพ่อนกป้อนอาหารเสร็จในแต่ละครั้งก็จะดูแลทำความสะอาดบริเวณปากโพรง ส่วนอาหารที่เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ นกเงือกจะสำรอกทิ้งออกมาภายนอกโพรง ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของนกเงือกคือ สัตว์ผู้ล่าขนาดเล็ก อาทิเช่น หมาไม้ ซึ่งจะสามารถไต่ขึ้นไปถึงรังนกเงือกได้

การรวมฝูง
นกเงือกรวมฝูง
เมื่อฤดูทำรังสิ้นสุดลงและลูกนกเงือกบินได้เก่งแล้ว ในช่วงฤดูฝน นกเงือกมักจะพากันมารวมฝูงกันหากินรวมกลุ่มขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างแล้วแต่ชนิดของนกเงือก และรวมฝูงนอนตามหุบเขาลึก อีกทั้งนกรุ่นลูกมีโอกาสจับคู่กับนกเงือกที่มาจากแหล่งอื่น ช่วยให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น

ภาระของนกเงือกต่อสังคมป่า
นกเงือกคาบผลไม้
ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตดังกล่าวมาแล้ว และความหลากหลายของการกินอาหาร นกเงือกจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น ถ้าป่าไหนมีนกเงือกอยู่ถึง 500 ตัว ป่าเหล่านั้นจะไม่เป็นป่าที่สมบูรณ์ได้อย่างไร
นกเงือก


A ข้อมูลจากเว็บ http://student.nu.ac.th/51320756/ho1.html 1. itis.gov
2. Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
3. ลักษณะเด่นของนกเงือก 4. วงศ์นกเงือก Hodgson,BH (1833). "Description of the Buceros Homrai of the Himalaya". Asiat. Res. 18 (ฉบับที่ 2): 169–188.
6. นกเงือก 7. วันรัก"นกเงือก" สัตว์ที่เป็น "ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ" จากมติชน 8. เดินป่า-ชมนกเงือก น้ำตกสิรินทร-นราธิวาส 9. ยกย่อง"พิไล" แม่ของนกเงือก จากข่าวสด

13 ก.พ. 2558 เวลา 20:56 | อ่าน 26,264
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 ตุลาคม 2567
127 20 ต.ค. 2567
มาตรการช่วยน้ำท่วม ลดภาษี - ลดค่าใช้จ่าย – เพิ่มสินเชื่อฟื้นฟูบ้านเรือน
34 16 ต.ค. 2567
คำเกี่ยวกับเทคโนโลยีทับศัพท์คำไทย ยุคดิจิทัล
39 15 ต.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถตามวันเกิด ปี 2568
346 14 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 13-19 ตุลาคม 2567
455 13 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 6-12 ตุลาคม 2567
261 7 ต.ค. 2567
4 วิธีคลายเครียดในชีวิตประจำวัน
750 5 ต.ค. 2567
วิธีดูผลการประเมินเงินเดือนที่เร็วกว่าในระบบ ก.พ.7 โดยดูจากข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญ
1,029 5 ต.ค. 2567
“สินบน” ภัยร้ายอันตรายกว่าที่คิด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
1,108 1 ต.ค. 2567
แนะศึกษากฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้ลึก ช่วง4เดือนนี้ ก่อนบังคับใช้เหตุเกี่ยวพันทั้งอาญา และแพ่ง
132 1 ต.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...