วิธีป้องกัน เมอร์ส (MERS-CoV) : ไวรัสมรณะ

19 มิ.ย. 2558 เวลา 09:24 | อ่าน 7,604
 
เมอร์ส (MERS-CoV) หรือ Middle East Respiratory Syndrome-Corona Virus เป็นเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจในกลุ่มเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งเชื้อเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เนื่องจากมีความแตกต่างจากเชื้อโคโรนาไวรัสที่เคยติดเชื้อในคน ผู้ป่วยรายแรกที่พบการติดเชื้อเมอร์ส พบในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ดังนั้นในบางครั้งอาจพบการเรียกชื่อเชื้อชนิดนี้ว่า “เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ปี 2012” ภายหลังจากการระบาดในช่วงปี พ.ศ. 2557 ซึ่งส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในประเทศแถบคาบสมุทรอาหรับหรือเดินทางจากประเทศในแถบนั้น และตั้งแต่เดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2558 ได้พบมีการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วยในประเทศเกาหลีใต้ที่ยืนยันแล้ว 144 ราย ประเทศจีน 1 รายและเสียชีวิตแล้ว 14 ราย ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีการพบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเมอร์ส ถึงแม้เชื้อไวรัสเมอร์ส จะยังไม่มีการระบาดในชุมชน อย่างไรก็ตามวงการสาธารณสุขทั่วโลกยังคงเฝ้าระวังการติดต่อของเชื้อเมอร์ส อย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มาของเชื้อ
ผู้ป่วยรายแรกที่พบการติดเชื้อเมอร์สพบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โดยยังไม่ทราบแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสชนิดนี้แต่คาดการณ์ว่าติดต่อมาจากสัตว์เนื่องจากพบเชื้อเมอร์สในอูฐในประเทศกาตาร์ โอมาน อียิปต์ และซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้แล้วยังตรวจพบว่าอูฐในประเทศอื่นอีกหลายประเทศมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเมอร์สซึ่งหมายความว่าอูฐเหล่านั้นอาจเคยติดเชื้อไวรัส ชนิดนี้หรือสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงมาก่อน นอกจากนี้แล้วในประเทศซาอุดิอาระเบียยังตรวจพบเชื้อเมอร์สในค้างคาวอีกด้วย

เมอร์ส (MERS-CoV)


แสดง
เชื้อเมอร์สก่อให้เกิดอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงเรียกว่า MERS ซึ่งประกอบด้วยอาการไอ มีไข้และหายใจลำบาก ในผู้ป่วยบางรายการติดเชื้ออาจไม่มีอาการแสดงใดๆ หรือบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเหมือนป่วยเป็นโรคหวัดและจะหายได้เป็นปกติ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาการป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น ท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ในผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรครุนแรงอาจเกิดภาวะปอดบวมหรือไตวายได้ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อเมอร์สได้สูงกว่าคนทั่วไป และจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรครุนแรง สิ่งที่น่าเป็นกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อเมอร์สคือผู้ป่วยประมาณร้อยละ 30 จะเสียชีวิต โดยผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีสภาวะอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือมีโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ปอด หรือไต เป็นต้น

การติดต่อและระบาดวิทยา
การติดต่อของเชื้อเมอร์สนั้นพบในบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น บุคลากรทางการแพทย์ บุคคลในครอบครัว เป็นต้น แต่การติดต่อระหว่างบุคคลทั่วๆ ไปไม่เกิดขึ้นได้ง่ายนัก ในปี พ.ศ. 2557 ผู้ป่วยทุกรายที่มีการติดเชื้อเมอร์สนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ได้แก่ ผู้ป่วยจะมีประวัติอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้หรือเดินทางกลับมาจากประเทศเหล่านี้ ในผู้ป่วยบางรายพบว่าไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเทศเหล่านี้แต่มีบุคคลใกล้ชิดเดินทางกลับมาจากประเทศในคาบสมุทรอาหรับ โดยประเทศในคาบสมุทรอาหรับที่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อเมอร์สประกอบด้วยประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน จอร์แดน คูเวต เยเมน อิหร่าน และเลบานอน ส่วนประเทศที่มีรายงานการพบผู้ป่วยนอกคาบสมุทรอาหรับ (มิถุนายน 2557) ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ตูนีเซีย อิตาลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กรีซ อียิปต์ อัลจีเรีย และเนเธอแลนด์3 ส่วนการระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2558 นั้น จากการตรวจสอบลักษณะเบื้องต้นของสายพันธุ์จะมีความใกล้เคียงกับกลุ่มสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศซาอุดิอาระเบียมากที่สุด แต่ข้อมูลดังกล่าวยังต้องมีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมอีก4 ซึ่งการระบาดในประเทศเกาหลีใต้นั้น ประเทศเกาหลีใต้ได้นำเอาวิธีการควบคุมและเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวดมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส และยังไม่พบหลักฐานว่ามีการแพร่กระจายการระบาดในชุมชน

การเฝ้าระวัง

จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าเชื้อเมอร์สมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2 – 14 วัน ดังนั้นหากผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส ไอ หอบ หายใจเร็ว และภายใน 14 วันก่อนหน้ามีประวัติเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโรค มีการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงแต่ไม่สามารถหาเชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคได้ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อเมอร์ส

การป้องกันและการรักษา
เนื่องจากเชื้อเมอร์สเป็นเชื้ออุบัติใหม่ ในปัจจุบันจึงยังไม่มียาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการแสดงของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอยู่ในระหว่างรอผลตรวจหาเชื้อ แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส Oseltamivir ในขนาดที่ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ การใช้ยาต้านไวรัส Ribavirin นั้นยังมีผลการศึกษาค่อนข้างน้อยและอาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง นอกจากนี้แล้วเชื้อเมอร์สยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติตนตามแนวทางการดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น การทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การล้างมือ การใช้ช้อนกลาง การใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการป่วย เป็นต้น หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น ฟาร์ม ตลาด เป็นต้น



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
อาจารย์ ดร. ภญ. ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


19 มิ.ย. 2558 เวลา 09:24 | อ่าน 7,604
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 ตุลาคม 2567
127 20 ต.ค. 2567
มาตรการช่วยน้ำท่วม ลดภาษี - ลดค่าใช้จ่าย – เพิ่มสินเชื่อฟื้นฟูบ้านเรือน
34 16 ต.ค. 2567
คำเกี่ยวกับเทคโนโลยีทับศัพท์คำไทย ยุคดิจิทัล
39 15 ต.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถตามวันเกิด ปี 2568
346 14 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 13-19 ตุลาคม 2567
455 13 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 6-12 ตุลาคม 2567
261 7 ต.ค. 2567
4 วิธีคลายเครียดในชีวิตประจำวัน
750 5 ต.ค. 2567
วิธีดูผลการประเมินเงินเดือนที่เร็วกว่าในระบบ ก.พ.7 โดยดูจากข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญ
1,029 5 ต.ค. 2567
“สินบน” ภัยร้ายอันตรายกว่าที่คิด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
1,108 1 ต.ค. 2567
แนะศึกษากฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้ลึก ช่วง4เดือนนี้ ก่อนบังคับใช้เหตุเกี่ยวพันทั้งอาญา และแพ่ง
132 1 ต.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...