ปวดประจำเดือน .. ผู้หญิงคุ้น ผู้ชายงง

14 ก.ค. 2558 เวลา 14:00 | อ่าน 9,131
แชร์ไปยัง
L
-Advertisement-
 
อาการปวดท้องน้อย ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน ซึ่งมีชื่อว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้

ปวดประจำเดือน

สาเหตุการเกิด PMS
สาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำอาการของ PMS มีดังนี้

1. อาการทางด้านอารมณ์: หงุดหงิด เครียด โกรธง่าย วิตกกังวล กระวนกระวายใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

2. อาการทางด้านร่างกาย: เหนื่อยง่าย อ่อนล้า มีการบวมของร่างกาย อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องเสียหรือท้องผูก คัดตึงเต้านม เป็นสิว นอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และบางรายมีอาการนอนไม่หลับ
อาการที่พบบ่อยได้แก่ บวม เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ รับประทานมากขึ้น สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน

อันตรายจาก PMS มีหรือไม่?
ความรุนแรงของ PMS สามารถเพิ่มระดับจนพัฒนาเป็น PMDD โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่า PMS คือ มีอารมณ์ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หดหู่ใจ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย หรืออยากทำร้ายผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างรีบด่วน

อาการของ PMDD
ถ้าถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็น PMDD ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

1. ซึมเศร้า หมดหวัง คิดทำร้ายตัวเอง

2. วิตกกังวลและเครียด

3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

4. อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธง่าย

5. ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนรอบข้าง

6. ไม่มีสมาธิ

7. อ่อนเพลีย

8. กินจุ กินบ่อย

9. นอนไม่หลับ

10. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

11. อาการทางกายได้แก่ แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ


การรักษาและการดูแลสุขภาพโดยรวม
ทำสมุดบันทึกการมีรอบเดือนและจดรายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ในการบำบัดรักษาในรายที่มีอาการรุนแรง

การรักษาและการดูแลสุขภาพ

นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยใช้จิตบำบัด (psychotherapy)



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนโดย
นศภ. สุวเนตร์ มงคลการ
นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
-Advertisement-

-Advertisement-

14 ก.ค. 2558 เวลา 14:00 | อ่าน 9,131


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
-Advertisement-
 
มาใหม่
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่สนับสนุนการทำงานแบบเวิร์คฟอร์มโฮมเริ่มบังคับ 18 เม.ย. 66 เปิดทางนายจ้าง-ลูกจ้างตกลงเวลาทำงาน พักผ่อน วันลา ให้ชัดเจน
59 23 มี.ค. 2566
ไม่ใช่แค่ปอด หัวใจก็โดนทำร้ายจากฝุ่น PM 2.5
68 22 มี.ค. 2566
คณะแพทย์ รามาฯ เผย ยาต้านพิษ Prussian blue ใช้รักษาภาวะพิษจากซีเซียม
74 22 มี.ค. 2566
รองโฆษกรัฐบาลเผยสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยดีวันดีคืน ช่วง 3 เดือนแรกปี 66 ต่างชาติเดินทางเข้าไทยกว่า 5.5 ล้านคน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 2 แสนล้านบาท
77 22 มี.ค. 2566
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีผลักดันกฎหมาย กยศ. สำเร็จ เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว (20 มีนาคม 2566) สร้างความเป็นธรรม ขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม
79 20 มี.ค. 2566
คกก.ผู้สูงอายุแห่งชาติ หนุนเงินกู้ประกอบอาชีพผู้สูงอายุ 5,500 ราย 165ล้านบาท พร้อม เห็นชอบประกาศสดุดีเกียรติคุณ “ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน” ประยงค์ รณรงค์ เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ
78 20 มี.ค. 2566
ครม. อนุมัติสินเชื่อ
96 19 มี.ค. 2566
ทำไมต้อง ปิดแอร์ ก่อนดับเครื่อง
65 19 มี.ค. 2566
ถ้าไม่อยากให้รถ แอร์พัง อย่าทำสิ่งนี้
98 19 มี.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 19-25 มีนาคม 2566
84 19 มี.ค. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC chulatutor จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน

SPONSORED