เก็บยาอย่างไรให้คงคุณภาพ

1 ก.ค. 2559 เวลา 19:42 | อ่าน 7,817
 
แม้ว่ายาที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมจะผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ แต่หากการจัดเก็บยาในคลังเวชภัณฑ์ ห้องจ่ายยา สถานีอนามัย รถที่ใช้ขนส่ง หรือแม้แต่ที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย อยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ย่อมส่งผลกระทบถึงคุณภาพของยาหรือทำให้เกิดการเสื่อมสลาย (degradation) ของตัวยาสำคัญ (active pharmaceutical ingredients) ไวขึ้น อะไรบ้างที่ทำให้คุณภาพหรือความคงตัวของยาลดลงหรือเสียไป

เก็บยาอย่างไรให้คงคุณภาพ

สภาวะต่อไปนี้มีผลต่อความคงตัวของยา ได้แก่

อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อคุณภาพของยาได้ โดยทั่วไปมักให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง คือ อุณหภูมิประมาณ 18 -25 องศาเซลเซียส แต่ยาบางชนิดอาจระบุให้เก็บในตู้เย็น โดยเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา ไม่เก็บไว้ที่ช่องแช่แข็งหรือที่ฝาตู้เย็น เพราะเมื่อเราเปิด-ปิดตู้เย็น อาจทำให้อุณหภูมิแกว่งขึ้นลงได้ และควรหลีกเลี่ยงการเก็บยาไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานหรือมีความร้อนสูง เช่น รถยนต์จอดตากแดด ใกล้ๆ เตา ตู้อบ ตู้ไมโครเวฟ แสง ยาบางชนิดเมื่อถูกแสงจ้าหรือแสงแดดเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะทําให้ยาเสื่อมสภาพ ใช้รักษาไม่ได้ผล ดังนั้น บรรจุภัณฑ์จึงมักทำเป็นซองหรือขวดสีชา กล่องกระดาษทึบ แผงอลูมิเนียม หรือแผงยาแบบกดเม็ดยาออก (บลิสเตอร์) ที่มีความทึบแสง เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่ควรแกะออกจากภาชนะบรรจุเดิมของยาหากยังไม่ต้องการใช้

ความชื้น (moisture) ความชื้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยาที่อยู่ในรูปของแข็งไม่คงตัว โดยอาจจะทำปฏิกิริยาโดยตรงหรือเอื้อให้เกิดปฏิกิริยาสลายตัวของยา ยาเม็ดส่วนใหญ่เมื่อโดนความชื้นจะมีผลต่อชั้นเคลือบเม็ดยาทำให้บวมหรือเกาะเป็นก้อนได้ จึงไม่ควรเก็บยาในบริเวณที่มีความชื้นสูง และควรปิดฝาขวดยาให้สนิททุกครั้ง

ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ความเป็นกรด-ด่างจะมีผลต่อความคงตัวโดยเฉพาะตำรับยาฉีดหรือยาน้ำ หากความเป็นกรด-ด่างเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ตัวยาสำคัญตกตะกอนหรือเสื่อมสลาย

Oxidation and enzymatic degradation สารออกซิเดชันที่สำคัญที่สุด คือ ก๊าซออกซิเจนในอากาศ ปฏิกิริยาออกซิเดชันจะเกิดเร็วขึ้นเมื่อถูก แสง ความร้อน หรือมีตัวเร่ง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาดังกล่าวเราควรปิดภาชนะบรรจุให้สนิท และไม่วางบรรจุภัณฑ์ในที่ที่ไม่เหมาะสม

การจัดเก็บยาที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ยาสูญเสียประสิทธิภาพ จากการที่ยาสัมผัสกับ อากาศ ความชื้น แสงแดด ซึ่งต่างก็เป็นตัวเร่งให้เกิดการเสื่อมสภาพของยา ดังนั้น จึงไม่ควรแกะยาที่บรรจุในแผงหรือแบ่งออกจากภาชนะที่ทางผู้ผลิตได้บรรจุมา ทั้งนี้เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพอยู่ได้จนถึงวันหมดอายุตามที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ แต่หากมีความจำเป็นต้องแกะยาออกจากแผงหรือแบ่งยาออกจากกระปุกใหญ่ ให้แบ่งออกมาทีละน้อย ไม่ควรเกิน 1 สัปดาห์ สำหรับยาบางรูปแบบ แม้ว่าหลังเปิดใช้จะเก็บอย่างถูกต้องก็ไม่สามารถเก็บยานั้นใช้ได้จนถึงวันที่ยาหมดอายุ ได้แก่ ยาหยอดตา หลังเปิดใช้มีอายุอยู่ได้ 1 เดือน ยาปฎิชีวนะชนิดน้ำเชื่อมแขวนตะกอน หากเก็บที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) อยู่ได้ 1 สัปดาห์ และหากเก็บในตู้เย็นอยู่ได้ 2 สัปดาห์




บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://www.wms.co.uk/sharedimages/Zoom/W2206.jpg


1 ก.ค. 2559 เวลา 19:42 | อ่าน 7,817


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
630 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
730 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
760 30 มิ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน