เกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

30 พ.ค. 2560 เวลา 22:09 | อ่าน 12,943
แชร์ไปยัง
L
 
หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (รับขึ้นทะเบียนทุกเดือนพฤศจิกายนของทุกปี) ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ


เกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ


คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1. สัญชาติไทย
2. มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ในกรณีที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น เช่น เกิด พ.ศ. 2497 ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม 249
3. ขอรับเบี้ยตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน

4. ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือเทศบาล อบต.จัดให้เป็นประจำ

ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก(ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด

ผู้อื่นยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้หรือไม่?
สามารถยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้ และหากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตัวจริงพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด

ยื่นเอกสารแล้วจะได้รับเงินเมื่อไหร่?
ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)

ผู้สูงอายุแต่ละคนจะได้รับเงินเท่าไหร่?
ปัจจุบันได้จ่ายแบบขั้นบันได ดังนี้

อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท
อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท
อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

หมายเหตุ ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้เทศบาล หรือ อบต.ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น คือเดือนกันยายน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ต้องไปจดทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาลหรือ อบต.แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1 -30 พฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคมของปีถัดไป

เอกสารต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ โดยผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

(สูงวัย) เฮ ! ก.คลัง เตรียมเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ เป็น 1,200-1,500 บาท ต่อเดือน

กระทรวงการคลังเตรียมเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ จาก 600 บาทเป็น 1,200 บาทต่อเดือน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย โดยอาจจะนำเงินจากการจัดเก็บภาษีบาป มาจัดตั้งเป็นกองทุน ด้านอธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า เงินภาษีบาปกว่า 1 แสนล้านบาท สามารถจัดสรรมาช่วยผู้สูงอายุได้ หากรัฐบาลมีนโยบาย

เฮ ! ก.คลัง เตรียมเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ เป็น 1,200-1,500 บาท ต่อเดือน


วันที่ 26 ม.ค. 60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า เตรียมเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย รอบ 2 ระหว่างวันที่ 3-30 เมษายน 2560 ผ่านธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.

พร้อมออกบัตรประจำตัวชิพการ์ด เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์รูดใช้จ่ายบริการสาธารณูปโภค และรถสาธารณะ ในอัตราสวัสดิการที่รัฐจะจัดให้ในอนาคต

เฮ ! ก.คลัง เตรียมเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ เป็น 1,200-1,500 บาท ต่อเดือน

ขณะเดียวกัน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังศึกษาแนวทางเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ จากปัจจุบันเดือนละ 600 บาท เป็น 1,200 - 1,500 บาท ซึ่งถือเป็นระดับที่เหมาะสมต่อสภาพค่าครองชีพ
โดยอาจนำเงินส่วนหนึ่งจากผู้ที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุที่มีฐานะ และประสงค์จะสละสิทธิ์ และเงินอีกส่วนจากการตั้งกองทุนชราภาพ ซึ่งเงินเข้าจากภาษีเหล้าและบุหรี่ เดือนละ 100 บาท หรือประมาณปีละ 2 พันล้านบาท

ปัจจุบัน ผู้สูงอายุกว่า 10 ล้านคน มีผู้ไม่มาลงทะเบียน 2 ล้านคน และในจำนวนนี้ 8 ล้านคน ถือเป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะดี

ด้าน นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บได้กว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และนำส่งเข้าคลังเพื่อไปใช้จัดสรรในงบประมาณส่วนต่างๆ ซึ่งหากจะมีการตั้งกองทุนชราภาพจากเงินในส่วนนี้ ก็สามารถดำเนินการได้




ข้อมูลจาก https://news.mthai.com/general-news/461860.html และ http://workpointtv.com/news/22048

30 พ.ค. 2560 เวลา 22:09 | อ่าน 12,943


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
เงินเดือนตำรวจและเงินประจำตำแหน่งตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน
69 28 ก.ย. 2566
มาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ดังกล่าวภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้
13 27 ก.ย. 2566
ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
181 27 ก.ย. 2566
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566 เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
18 27 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 กันยายน 2566
281 24 ก.ย. 2566
486 20 ก.ย. 2566
ข่าวดี !! 15 อัตรา รับสมัครชายไทย วุฒิ ปวช./ปวส. ทำงานช่างที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
193 20 ก.ย. 2566
ตำแหน่งครูว่าง 2566 การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
98 19 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2566
476 17 ก.ย. 2566
ออมสิน ยื่นมือช่วยลูกหนี้ NPL สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ถูกกระทบช่วงวิกฤติโรคร้าย ตั้งต้นผ่อนเดือนละร้อย ดึงบัญชีกลับมาเป็นปกติ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค.2566
275 16 ก.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน