ข้อมูลและประวัติของประเทศอินโดนีเซีย

2 มิ.ย. 2556 เวลา 12:39 | อ่าน 15,234
แชร์ไปยัง
L
 
ประเทศอินโดนีเซีย

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)

ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาอิสลาม

ดอกไม้ประจำชาติ : กล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)

วันชาติ : 17 สิงหาคม

วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง)

ภาษาประจำชาติ : ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

ภาษาราชการ : ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)





ลักษณะทางภูมิศาสตร์
อินโดนีเซียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,070,606 ตารางกิโลเมตรแบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร



“ภูมิประเทศ”
ทิศเหนือ ติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับมหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันออก ติดกับติมอร์ – เลสเต และปาปัวนิวกินี

ทิศใต้ ติดกับทะเลติมอร์

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุดในโลกประมาณ 17,508 เกาะ แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนคือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะมาลุกุ และอีเรียนจายา



“ภูมิอากาศ”
อินโดนีเซียอยู่ในเขตร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน – เมษายน)



ประชากร
มีประชากรประมาณ 245 ล้านคน ประชากรมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ที่มีมากที่สุดคือ จาวา รองลงมาคือ ซุนดา มาดู มาเลย์ และยังมีชนชาติพื้นเมืองอื่นๆ ที่กระจายกันอยู่ตามเกาะต่างๆ



การเมืองการปกครอง
อินโดนีเซียปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมีวาระการบริหารงาน 5 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย สำหรับรัฐสภา จะประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนระดับภูมิภาค ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะมีสภาประชาชนระดับท้องถิ่น

ประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 33 จังหวัด โดยเป็นเขตปกครองสถานะพิเศษ 5 จังหวัด คือ จาการ์ตา อาเจะห์ ยอกยาการ์ตา ปาปัว และปาปัวตะวันตก ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักอยู่ด้วย



เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
ในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในตลาดโลก อินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ โกโก้ และเครื่องเทศ

ประวัติ
*ในอดีตอินโดนีเซียเป็นแหล่งเครื่องเทศที่สำคัญ จึงเป็นที่สนใจของชาวตะวันตก และตกเป็นอาณานิคมของประเทศเนเธอร์แลนด์นานกว่า 300 ปี

*พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ยึดครองอินโดนีเซียและขับไล่เนเธอร์แลนด์ออกไปได้สำเร็จ

*17 สิงหาคม พ.ศ.2488 อินโดนีเซียถือโอกาสประกาศเอกราชเพราะญี่ปุ่นแพ้สงคราม โดยมี ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดีคนแรก แต่เนเธอร์แลนด์ไม่ยอมรับและพยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบกันอย่างรุนแรง

*พ.ศ.2489 ทั้งสองฝ่ายลงนามเพื่อยุติความขัดแย้งใน ข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) แต่ภายหลังเนเธอร์แลนด์ละเมิดข้อตกลงโดยนำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียอีก

*ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2492 อินโดนีเซียจึงได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากสหประชาชาติกดดัน แต่เนเธอร์แลนด์ก็ไม่คืนดินแดนอิเรียนจายาตะวันตกให้ จนในที่สุดประชาชนในดินแดนนั้นได้ลงประชามติขอเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียต่อสหประชาชาติจึงสามารถรวมกันได้สมบูรณ์ใน พ.ศ.2506

ข้อมูลจาก http://www.9ddn.com/content.php?pid=766
เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย
เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย

จาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา มีเนื้อที่ 740 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนด้วย

สำหรับกรุงจาการ์ตา ก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 397 (พ.ศ. 940) และเป็นเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของกรุงจาการ์ตา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ประจำชาติอินโดนีเซีย (โมนาส) ซึ่งถือว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างโดยมีส่วนประกอบของทองคำ ในยุคของประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้ประกาศเอกราชให้อินโดนีเซียปลดแอกจากเนเธอร์แลนด์ได้


สกุลเงินประเทศอินโดนีเซีย
สกุลเงินประเทศอินโดนีเซีย

ใช้สกุลเงิน รูเปียห์
อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 3.95 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
ข้อมูล เมืองหลวง และสกุลเงิน จาก kapook.com

2 มิ.ย. 2556 เวลา 12:39 | อ่าน 15,234


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
มาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ดังกล่าวภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้
8 27 ก.ย. 2566
ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
121 27 ก.ย. 2566
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566 เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
11 27 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 กันยายน 2566
227 24 ก.ย. 2566
440 20 ก.ย. 2566
ข่าวดี !! 15 อัตรา รับสมัครชายไทย วุฒิ ปวช./ปวส. ทำงานช่างที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
179 20 ก.ย. 2566
ตำแหน่งครูว่าง 2566 การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
93 19 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2566
443 17 ก.ย. 2566
ออมสิน ยื่นมือช่วยลูกหนี้ NPL สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ถูกกระทบช่วงวิกฤติโรคร้าย ตั้งต้นผ่อนเดือนละร้อย ดึงบัญชีกลับมาเป็นปกติ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค.2566
257 16 ก.ย. 2566
นายกฯ เผย ครม.เคาะลดค่าไฟฟ้า เหลือ 4.10 บาท น้ำมันดีเซลต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตร มีผล ก.ย.นี้ ปรับจ่ายเงินเดือนข้าราชการเดือนละ 2 รอบ วีซ่าฟรีให้จีน-คาซัคสถาน
479 14 ก.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน