ระบบพนักงานราชการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

29 ก.ค. 2557 เวลา 19:17 | อ่าน 355,383
 
ภายหลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างส่วนราชการตามการปฏิรูประบบ ราชการ เมื่อปี พ.ศ.2545 สำนักงาน ก.พ. ได้นำระบบลูกจ้างสัญญาจ้างเดิมมาปรับปรุงรูปแบบการจ้างงานในหน่วยงานภาครัฐ ให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งขยายผลให้มีความหลากหลายของรูปแบบการจ้างงานในส่วนของการจ้างผู้ทรง คุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยได้เปลี่ยนชื่อจาก “ลูกจ้างสัญญาจ้าง” เป็น “พนักงานราชการ” เพื่อดึงดูดใจและแสดงสถานะที่ชัดเจน ตลอดจนการวางระบบบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เรื่องการกำหนดลักษณะงาน ตำแหน่ง และกรอบอัตรากำลัง การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ การสรรหาและเลือกสรร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ภายใต้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ คือ หลักสมรรถนะ (Competency) หลักผลงาน (Performance) และหลักคุณธรรม (Merit) ตลอดจนมอบอำนาจให้ส่วนราชการบริหารจัดการเอง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ดังนั้นระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ จึงกำหนดไว้อย่างกว้าง ฯ เพื่อให้ส่วนราชการมีความอิสระและยืดหยุ่น

ระบบพนักงานราชการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

กลไกของระบบพนักงานราชการประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และคณะอนุกรรมการบริหารพนักงานราชการ (อ.คพร.) ทำหน้าที่แทน คพร. ในด้านต่าง ๆ จำนวน 3 คณะ ได้แก่
คณะที่ 1ด้านการกำหนดลักษณะงานกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
คณะที่ 2 ด้านการสรรหาและเลือกสรร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน
คณะที่ 3 ด้านกฎหมายและวินัย

ความหมายของพนักงานราชการ
พนักงานราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น

ประเภทของพนักงานราชการ มี 2 ประเภท คือ
1. พนักงานราชการทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไป ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ

1.1 กลุ่มงานบริการ

1.2 กลุ่มงานเทคนิค

1.3 กลุ่มงานบริหารทั่วไป

1.4 กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ

1.5 กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ

2. พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ ปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ มี 1 กลุ่ม คือ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ

ลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน
เพื่อให้การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานเป็นระบบและเป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง คพร. จึงกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน

โปรดดูประกาศ คพร. เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ

การจัดทำกรอบอัตรากำลัง ส่วนราชการจะต้องทำกรอบอัตรากำลังที่มีระยะเวลา 4 ปี โดยพิจารณาถึงการใช้กำลังคนในภาพรวมของส่วนราชการ ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความจำเป็นตามภารกิจและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ

ขั้นตอนการจัดทำกรอบอัตรากำลัง
1. สำรวจภารกิจและอัตรากำลังมีอยู่ในปัจจุบัน

2. ตรวจสอบภารกิจตาม ข้อ 1 โดยการวิเคราะห์ภารกิจและการใช้กำลังคน


3. แยกภารกิจที่ได้ตาม ข้อ 2 ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ภารกิจหลัก ภารกิจรอง และภารกิจสนับสนุน ตามแนวคิดในการจัดอัตรากำลังตามภารกิจ ดังนี้
ภารกิจหลัก หมายถึง งานตามกฎหมาย หรืองานกำหนดนโยบาย หรืองานที่ทำเพื่อความคงอยู่ขององค์กรตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา
ภารกิจรอง หมายถึง งานที่ทำเพื่อสนับสนุนภารกิจหลัก หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา
ภารกิจสนับสนุน หมายถึง งานด้านธุรการและบริการผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

4. จัดทำตารางภารกิจและจำนวนกำลังคนที่ใช้ตาม ข้อ) 4 โดยแยกเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และอื่น ๆ

5. แสดงจำนวนอัตรากำลังพนักงานราชการจาก ข้อ 5 แยกตามกลุ่มลักษณะงาน เป็นกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ

6. เสนอกรอบอัตรากำลังที่ทำเสร็จแล้วต่อ อ.ก.พ. กระทรวง หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่คล้าย อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาให้ความเห็นชอบ

7. เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงให้ความเห็นชอบแล้ว ส่งเรื่องมาที่สำนักงาน ก.พ. เพื่อเสนอต่อ คพร. พิจารณา

8. เมื่อส่วนราชการได้รับแจ้งมติ คพร. ที่เห็นชอบกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการแล้ว สามารถดำเนินการบริหารอัตรากำลังพนักงานราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คพร. กำหนด ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

การทำสัญญาจ้าง
1. ส่วนราชการทำสัญญาจ้างผู้ผ่านการเลือกสรร ด้วยแบบสัญญาจ้างตามที่กำหนด โดยมีระยะเวลาตามความจำเป็นหรือความเหมาะสมกับภาระงาน เช่น 2 เดือน 3 เดือน หรือ 2 ปี 3 ปี แต่ต้องไม่เกิน 4 ปี

2. ให้กรอกข้อความ หรือจัดทำรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาจ้างให้ชัดเจนครบถ้วน และสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะในระบบพนักงานราชการ ส่วนราชการ จะต้องใช้สัญญาจ้างในการบริหารจัดการพนักงานราชการตลอดอายุสัญญา

3. หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างในฐานะส่วนราชการ กับคู่สัญญา คือ พนักงานราชการ

4. ส่วนราชการต้องควบคุม หรือดูแลการปฎิบัติตามสัญญาจ้างในระหว่างสัญญา

5. กรณีที่สัญญาจ้างของพนักงานราชการสิ้นสุด และส่วนราชการมีภาระที่จำเป็นต้องต่อสัญญา ส่วนราชการต้องทำสัญญาจ้างใหม่ตามแนวทางของการทำสัญญาจ้างในครั้งแรก โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการประเมินผลการปฎิบัติงานตามประกาศ ค.พ.ร. เรื่องแนวทางการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานราชการ

การประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานราชการ
พนักงานราชการทั่วไป แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานราชการในกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ มีดังนี้

1. ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ที่เป็นผู้มอบหมายงาน และหรือ ผู้กำกับดูแลพนักงานราชการ โดยมีผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีก 1 ระดับ หรือ 2 ระดับเป็นผู้กลั่นกรองผลการประเมินของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น

2. คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เกิดความเป็นธรรมจาก การใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน หัวหน้าหน่วยงานที่มีพนักงานราชการปฏิบัติงานอยู่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการ และผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ

3. ระยะเวลาการประเมิน ปีละ 2 ครั้งตามปีงบประมาณ ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม) และ ครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน)

4. องค์ประกอบในการประเมิน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ของงานและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบหรือผลผลิตที่กำหนดในสัญญาจ้าง

5. สัดส่วนของผลงานและคุณลักษณะ มีสัดส่วนของผลสัมฤทธิ์ของงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

พนักงานราชการพิเศษ แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานราชการพิเศษ มีดังนี้

1. ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการ และหัวหน้าส่วนราชการ

2. องค์ประกอบในการประเมิน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ของงานตามเป้าหมายและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน โดยได้กำหนดสัดส่วนของ ผลสัมฤทธิ์ของงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3. ระยะเวลาการประเมินส่วนราชการเป็นผู้กำหนดว่าจะประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษ อย่างไร เช่น ประเมินเป็นระยะ ๆ เดือนละครั้ง หรือสองเดือนครั้ง ฯลฯ


อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ (ก.พ.)

สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554
สิทธิ์การลาประเภทต่างๆ จำนวนวันลา และการได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา
(1) ลาป่วย มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยนับแต่วันทำการ การล่าป่วยตั้งแต่ 3 วันทำการขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการรับรองประกอบการลา หรือประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้ และให้ได้รับค่าคอบแทนระหว่างลาได้ ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน ส่วนที่เกิน 30 วัน มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
(2) ลาคลอดบุตร มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน 45 วัน และมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
(3) ลากิจส่วนตัว มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ปีละไม่เกิน 10 วันทำการ และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 10 วัน
(4) ลาพักผ่อน มีสิทธิลาพักผ่อนปีละ 10 วันทำการ สำหรับในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และได้พ้นจากการเป็นพนักงานราชการไปแล้วแต่ต่อมาได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการในส่วนราชการเดิมอีก และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 10 วัน
(5) ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ทั้งนี้ เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพล ให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน 7 วัน และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน
(6) ลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 ปี มีสิทธิลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ได้จำนวน 1 ครั้ง ตลอดช่วงเวลาของการมีสถานภาพเป็นพนักงานราชการ โดยการลาอุปสมบทมีสิทธิลาได้ไม่เกิน 120 วัน และการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์มีสิทธิลาได้ไม่เกิน 120 วัน ตามระยะเวลาที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจตามหลักการของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาอนุมัติการลาดังกล่าวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ และให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน
ในกรณีที่พนักงานราชการเข้าทำงานไม่ถึง 1 ปี ให้ทอนสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนการลากิจส่วนตัว และการลาพักผ่อนลงตามส่วนของจำนวนวันที่จ้าง

สิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

สิทธิประโยชน์จากการประกันสังคม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 กำหนดให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ซึ่งกฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ส่วนราชการ (นายจ้าง) หักค่าตอบแทนจากพนักงานราชการ 5 % โดยพนักงานราชการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน ดังต่อไปนี้

(1) ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

(2) ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร

(3) ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

(4) ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย โดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

(5) ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร

(6) ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

(7) ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน

สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน พนักงานราชการจะได้รับเงินทดแทนกรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้ราชการ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ยังไม่มีผลใช้บังคับกับพนักงานราชการ หากพนักงานราชการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้ราชการ ให้พนักงานราชการมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินทดแทนในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และให้นำกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือการป่วยเจ็บ เพราะเหตุปฏิบัติราชการ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการลามาใช้บังคับกับพนักงานราชการโดยอนุโลม ทั้งใน ในการเบิกจ่ายเงินทดแทนให้เบิกจ่ายจากงบบุคลากรของส่วนราชการ ที่พนักงานราชการสังกัด การยื่นคำขอเงินค่าทดแทนให้พนักงานราชการซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย หรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ยื่นคำร้องขอเงินทดแทนต่อส่วนราชการที่พนักงานราชการสังกัดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แล้วแต่กรณี เว้นแต่พนักงานราชการที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย ก่อนวันที่ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ทั้งนี้ กรยื่นคำร้องขอใช้สิทธิให้กรอกข้อความในแบบ คพร./สป.1 และ คพร./สป.2 ที่แนบท้ายประกาศ และทางราชการอาจส่งตัวพนักงานราชการเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ตามความจำเป็น

การได้รับค่าตอบแทนกรณีออกจากงานโดยไม่มีความผิด ในกรณีที่ส่วนราชการบอกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานราชการผู้ใดก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้าง โดยมิใช่ความผิดของพนักงานราชการดังกล่าว ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ดังนี้

(ก) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 4 เดือน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกราชการ

(ข) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสามเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ

(ค) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนหกเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ

(ง) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนแปดเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ

(จ) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสิบเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้บรับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ

อ้างอิงคู่มือการบริหารงานพนักงานราชการปี 2555


New! พนักงานราชการ สะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 15 วัน คลิก...

New ! ปัจจุบันใช้ ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565
เรื่อง การปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ ปี 2556 - 2557 และ ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2556

29 ก.ค. 2557 เวลา 19:17 | อ่าน 355,383
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
108 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
120 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
76 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
39 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
131 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
346 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
417 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
75 25 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
413 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
51 23 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...